The Healthy Classroom : ----------- โดย อาจารย์อภิชาติ วัชรพันธุ์ แนวคิดของ Steven Hastings (2006) จากหนังสือที่ชื่อว่า
ในวันนี้ กล่าวถึงความสำคัญของ "The Complete Classroom" โดย Hasting ได้เสนอแนะว่า "ห้องเรียนคุณภาพ/ห้องเรียนที่สมบูรณ์แบบ" น่าจะมีลักษณะที่สำคัญ 3 องค์ประกอบ คือ 1) The Healthy Classroom....เป็นห้องเรียนที่ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน 2) The Thinking Classroom....เป็นห้องเรียนที่เน้นการส่งเสริมด้านการคิดวิเคราะห์ หรือพัฒนาการทางสมอง และ 3) The Well-Rounded Classroom....ห้องเรียนบรรยากาศดี The Healthy Classroom เพราะในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีข่าวเรื่องนักเรียนโรงเรียนมีชื่อแห่งหนึ่ง จุดไฟเผาอาคารเรียน-อาคารห้องสมุดของโรงเรียน(ขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อโรงเรียนซ้า เพราะคิดว่าไม่เกิดผลดีทั้งต่อโรงเรียนและเด็ก) ซึ่งผมคิดว่าปัญหาส่วนหนึ่งน่าจะเนื่องมาจากการจัดการเรียนการสอนในประเทศของเรา โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับความนิยมสูง จะเน้นในความเป็น “The Thinking Classroom” หรือห้องเรียนที่เน้นด้านสมอง ด้านวิชาการมากเป็นพิเศษ ทาให้ลดโอกาสในการสร้าง “The Healthy Classroom” : ห้องเรียนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน การเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ คิดว่าเป็นการเสียหายที่น้อยมาก คือ เสียอาคารเพียงหลังเดียวและคุ้มค่ามาก หากเราจะได้บทเรียนและหันมาทบทวนกันอย่างจริงจังในเรื่อง “ความเป็นห้องเรียนสุขภาพดี ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน” เพื่อลดโอกาสความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพื่อสักวันหนึ่ง เราจะต้องไม่มานั่งเสียใจกับปัญหานักเรียนทำร้ายร่างกายตนเอง นักเรียนฆ่าตัวตาย หรือนักเรียนมีพฤติกรรมก้าวร้าว ทาร้ายผู้อื่น/ทาลายสิ่งของ
คำถามที่ผมอยากให้ทุกคนร่วมกันคิด โดยเฉพาะผู้จะเป็นครู คือ
ในวันนี้ กล่าวถึงความสำคัญของ "The Complete Classroom" โดย Hasting ได้เสนอแนะว่า "ห้องเรียนคุณภาพ/ห้องเรียนที่สมบูรณ์แบบ" น่าจะมีลักษณะที่สำคัญ 3 องค์ประกอบ คือ 1) The Healthy Classroom....เป็นห้องเรียนที่ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน 2) The Thinking Classroom....เป็นห้องเรียนที่เน้นการส่งเสริมด้านการคิดวิเคราะห์ หรือพัฒนาการทางสมอง และ 3) The Well-Rounded Classroom....ห้องเรียนบรรยากาศดี The Healthy Classroom เพราะในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีข่าวเรื่องนักเรียนโรงเรียนมีชื่อแห่งหนึ่ง จุดไฟเผาอาคารเรียน-อาคารห้องสมุดของโรงเรียน(ขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อโรงเรียนซ้า เพราะคิดว่าไม่เกิดผลดีทั้งต่อโรงเรียนและเด็ก) ซึ่งผมคิดว่าปัญหาส่วนหนึ่งน่าจะเนื่องมาจากการจัดการเรียนการสอนในประเทศของเรา โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับความนิยมสูง จะเน้นในความเป็น “The Thinking Classroom” หรือห้องเรียนที่เน้นด้านสมอง ด้านวิชาการมากเป็นพิเศษ ทาให้ลดโอกาสในการสร้าง “The Healthy Classroom” : ห้องเรียนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน การเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ คิดว่าเป็นการเสียหายที่น้อยมาก คือ เสียอาคารเพียงหลังเดียวและคุ้มค่ามาก หากเราจะได้บทเรียนและหันมาทบทวนกันอย่างจริงจังในเรื่อง “ความเป็นห้องเรียนสุขภาพดี ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน” เพื่อลดโอกาสความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพื่อสักวันหนึ่ง เราจะต้องไม่มานั่งเสียใจกับปัญหานักเรียนทำร้ายร่างกายตนเอง นักเรียนฆ่าตัวตาย หรือนักเรียนมีพฤติกรรมก้าวร้าว ทาร้ายผู้อื่น/ทาลายสิ่งของ
คำถามที่ผมอยากให้ทุกคนร่วมกันคิด โดยเฉพาะผู้จะเป็นครู คือ
1) ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
ตอบ เหตุการณ์ในปัจจุบันนี้หลายๆเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย เช่น นักเรียนทำร้ายตัวเองด้วยการฆ่าตัวตาย พฤติกรรมก้าวร้าว เช่น ทำร้ายครู ทำลายสิ่งของ สิ่งที่นอกเหนือจากการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียนแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดกระผมคิดว่าสถาบันในครอบครัวของนักเรียนและการจัดการภายในครอบครัวของเขานั้นบกพร่องด้วย อันเกิดจากการขาดความรู้ของผู้ปกครองหรืออย่างไรก็แล้วแต่ ในสมัยนี้เทคโนโลยี่ทันสมัยและก้าวหน้ากว่าก่อนมากจะเป็นดาบสองคมที่เป็นประโยชน์และทำร้ายตัวเองรวมทั้งสังคมได้ ของเล่นของเด็กก็ยิ่งทันสมัยตามมาด้วย ยกตัวอย่างเช่น เกมส์ออนไลน์ ที่สามารถเล่นกับเพื่อนได้โดยไม่ต้องเห็นหน้ากันได้ การใช้เทคโนโลยี่อินเตอร์เน็ตที่ไร้การควบคุมและไปในทางที่ไม่ควร เหล่านี้ทำให้เด็กห่างเหินกับการอบรมสั่งสอนของพ่อแม่เพราะกิจกรรมส่วนใหญ่นอกเหนือจากโรงเรียนแล้วกิจกรรมประจำวันก็พัวพันอยู่กับสิ่งเหล่านี้ จึงทำให้พฤติกรรมของเด็กเบี่ยงเบนไปในที่สุด เช่น การกินก็กินไม่เป็นเวลาส่งผลต่อพํฒนาการทางร่างกาย การเล่นเกมส์ที่รุนแรง เช่น เกมส์ต่อสู้ ทำให้สภาวะทางอารมณ์ของเด็กรุนแรงและก้าวร้าวตามมาด้วย การมุ่งมานะที่จะชนะเกมส์ให้ได้นั้นทำให้เขารู้สึกเสียใจผิดหวังอาจถึงกับฆ่าตัวตายได้นั้นสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาของสังคมที่เป็นผลมาจากหลายสาเหตุไม่ใช่แค่การบกพร่องทางการศึกษาเพียงผ่ายเดียวทุกส่วนของสังคมต้องร่วมกันแก้ไขเรื่องนี้อย่างเร่งด่วนแต่บทบาททางการจัดการศึกษาควรเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุดและตรงตัวที่สุดสำหรับปัญหานี้
2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม คำถามว่า “มีโรคประจำตัวอะไรบ้าง” แต่ไม่เคยถามว่า “หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออก กำลังกายไหม)
ตอบ ในปัจจุบันนี้ต้องยอมรับว่าการตื่นตัวเรื่องการรักสุขภาพเริ่มมีมากขึ้นในคนไทยไม่ว่าเด็กนักเรียนวันรุ่นหรือผู้ใหญ่ที่ทำงานแล้วก็ตามอันเนื่องมาจากกระแสของสังคมก็ตามแต่การมีหน่วยงานที่ส่งเสริมที่จัดขึ้นเพื่อการส่งเสริมกีฬาและอย่างอื่นด้วยเช่นดนตรีเช่น โครงการ toobee nember one และการจัดแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติดทั่วประเทศ เช่นในโรงเรียน กีฬาระดับหมู่บ้าน ถึงกระแสการตื่นตัวจะมากขึ้นจริงแต่ก็ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังเฉยๆเป็นนิสัยอยู่ไม่รับรู้อะไรเพราะเขาถือว่าหน้าที่การงานของเขาเป็นการออกกำลังกายแล้วเช่น คนงานก่อสร้าง ชาวเกษตรกรรม เราจะให้เขามาออกกำลังกายได้อย่างไรในเมื่อการงานของเขาก็เป็นงานหนักเอาการอยู่และจะต้องใช้พละกำลังอยู่เสมอเป็นประจำวันอยู่แล้ว ฉะนั้นการออกกำลังกายส่วนใหญ่แล้วถ้าเป็นผู้ใหญ่ก็เป็นอาชีพที่ทำงานเบาๆไม่หนักคนที่มีเวลาว่างพอสมควรคนที่ทำงานด้วยการนั้งอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ ก็มักเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ ส่วนเด็กนักเรียนนักศึกษานั้นจำเป็นอย่างมากไม่มีภาระหนักหนา
ไม่ว่าจะเป็นใครอาชีพใดเขาก็ห่วงและรักชีวิตกันทั้งนั้นการออกกำลังกายมีหลายรูปแบบถ้าใจรักในการออกกำลังกายห่วงสุขภาพตัวเองก็สามารถที่กระทำได้ทั้งนั้นทั้งนั้นดั่งเช่นคำว่า “กีฬากีฬาเป็นย่าวิเศษ”คำกล่าวนี้ได้แสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายแข่งแรงมีภูมิต้านทานจะเห็นได้จากนักกีฬาจะไม่ค่อยเจ็บไข้ได้ป่วยถ้าป่วยก็ใช้เวลาไม่นานในการรักษา
3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)
ตอบ คนทุกคนมีความรู้สึกพื้นฐานทางอารมณ์ไม่เหมือนกันอยู่ที่สภาพแวดล้อมการอบรมณ์สั่งสอนและวุฒิภาวะของแต่ละคนซึ่งวัยเดียวกันอาจมีไม่เหมือนกันได้
เด็กไทยในวันนี้ถือว่ามีการควบคุมอารมณ์เก็บความรู้สึกได้น้อยเมื่อมีเหตุการณ์ที่มากระทบอารมณ์ความรู้สึกนึกอาจจะเกิดจากการเลี้ยงดูที่ตามใจของพ่อแม่และการเลี้ยงดูที่ผิดวิธี เช่น อยากได้อะไรต้องได้ พอไม่ได้เข้าก็เลยร้องให้ฟูมฟายจนพ่อแม่ยอมให้เลยเคยใจมาติดเป็นนิสัย
การปรับปรุงพฤติกรรมเหล่านี้ในชั้นเรียนของครู
1.ครูต้องมีเหตุผลพอและไม่ดุด่าต่อว่าเขาเพราะเด็กเหล่านี้มีความหวั่นไหวทางอารมณ์สูงอยู่แล้วเป็นพื้นฐาน
2.ต้องมีการเข้าฝึกอบรมเช่น อบรมคุณธรรมจริยธรรม
3.สอนให้เขามองโลกในแง่บวก ยกตัวอย่างเช่น ไม่เคยมีแช่มเพี้ยนคนไหนที่ไม่เคยแพ้มาก่อน
4.สอนวิธีคิดใหม่หลายๆรูปแบบ เช่น แบบหมวก6ใบ
5.ให้นักเรียนวิเคราะห์ตนเองว่าเขาบกพร่องด้านใดและจะพัฒนาตนเองอย่างไร
4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง)
ตอบ ในโรงเรียนที่เน้นวิชาการมากเกินไปจะเกิดช่องว่างระหว่างเด็กเก่งและเด็กที่เรียนอ่อนเพราะเด็กที่เรียนเก่งจะไม่รับเด็กเรียนอ่อนเข้ากลุ่มจุดนี้ครูควรใช้ความระมัดระวังด้วยและควรจัดการชั้นเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน คือให้คนที่เก่งช่วยสอนเสริมหรือติวให้เพื่อนที่เรียนอ่อนคือให้ใช้คะแนนแบบอิงกลุ่มจะเป็นการบังคับให้เพื่อนช่วยเพื่อนไปในตัว ครูไม่ควรคาดหวังในตัวคะแนมากจนเกินไปเพราะจะทำให้เด็กที่เรียนเก่งเห็นแก่ตัวมากขึ้นครู ควรเน้นการที่ให้เด็กได้รับความรู้ให้ได้มากที่สุด จะเป็นการช่วยเพิ่มจริยธรรมให้เด็กที่เรียนเก่งไปในตัวและช่วยให้เด็กที่เรียนอ่อนได้พํฒนาตนเองมากขึ้นมา
5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจาชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
ตอบ ขั้นแรกครูควรทำแบบสอบถามเพื่อทราบข้อมูลในตัวเด็กแต่ละคนและใช้วิธีการสังเกตุพฤติกรรมในการเรียนในชั้นเรียนและ นอกชั้นเรียนจากนั้นก็มาจำแนกเด็กเป็นกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่เรียนดีส่วนเด็กที่มีปัญหาครอบครัวนั้นครูต้องใช้ความระมัดระวังถึงการทราบถึงข้อมูลเพราะอาจกระทบถึงปมด่อยของนักเรียนได้ อาจใช้วิธีโดยการถามเพื่อนหรือเยี่ยมบ้านโดยไม่เป็นการกระทบต่อตัวนักเรียนโดยตรงจากนั้นก็มาแก้ปัญหาโดยให้ผู้ปกครองมีส่วนช่วยด้วยจากนั้นก็ทำแบบประเมินก่อนและหลังการทำการแก้ไขปัญหาโดยการจัดทำแผนการเรียนให้เหมาะสมกับเด็กส่วนเด็กที่เรียนนั้นครูควรระมัดระวังในการจัดการเรียนการสอนเพราะเด็กจำพวกนี้จะมีความเครียดสูงครูควรจัดบรรยากาศในชั้นเรียนแบบเป็นกันเองกับนักเรียนให้มากที่สุดเพื่อลดความเครียดไม่ควรให้ความสำคัญกับคะแนนมากเกินไปควรทำกิจกรรมแบบบูรณาการและแสดงบทบาทเสริมคุณธรรมรมไปถึงประสบการเพราะเด็กพวกนี้เก่งวิชาการอยู่แล้วและครูยกตัวอย่าง ประกอบในกรณีที่เกี่ยวข้องกับตัวเขาและให้เขาร่วมวิเคราะห์และแก้ปัญหาตัวเองด้วย
6) ครูประจาชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อ “ผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้น” โดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทางานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)
ตอบ โดยปกติแล้วเด็กกลุ่มเสี่ยงจะไม่ค่อยเข้าใกล้ครูฉะนั้นครูควรทำความเข้าใจตัวนักเรียนและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและให้เขารู้สึกไว้ใจในตัวครูเสียก่อนแต่มันต้องใช้เวลาให้เวลาเขาครูไม่ควรใช้วิธีแบบบังคับเพราะจะทำให้นักเรียนเกลงและพะวงมากขึ้นจากนั้นก็ค่อยๆแก้ปัญหาค่อยถามเขาพอเขารู้สึกดีแล้วเขาก็จะเข้าหาครูเอง
7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา “การควบคุมอารมณ์”)
ตอบ ทางโรงเรียนแต่ละโรงเรียนควรมีคาบแนะแนวเพราะครูแนะแนวจะมีความรู้ในด้านจิตวิทยาอยู่แล้วและจะเข้าใจในวิธีการดีกว่าครูทั่วไปจะแก้ปัญหาตรงจุดมากขึ้น การพัฒนาบุคลิกภาพเป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะยิ่งเด็กหลายคนปัญหาก็ยิ่งมากเพราะเด็กแต่ละคนมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไปการพัฒนาบุคลิกที่ดีและได้ผลดีที่สุดนั้นต้องเริ่มทำเป็นช่วงๆไปเพราะการพัฒนาของเด็กแต่ละวัยไม่เหมือนกันต้องจัดให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงอายุเช่น เด็ก เด็กแรกเกิดจะตอบสนองทางปากโดยการร้องถ้าตอบไม่เต็มที่โตมาจะมีลักษณะนิสัยที่พูดมาก เป็นต้น
8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
ตอบ ทุกโรงเรียนมีการประเมินอยู่แล้วเช่นชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงและถ้าพบว่าเด็กไม่ถึงเกณฑ์ก็ช่วยเหลือโดยการให้บัตรฟรีในการรับประทานอาหารกลางวัน
9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจำชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
ตอบ มีครับทุกโรงเรียนต้องมีการทำแบบประเมิน สังเกตต่างๆเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดการเรียนรู้ของตัวนักเรียน ต้องมีการประชุมผู้ปกครองมารับทราบปัญหาด้วยเพื่อจะได้แก้ปํญหาร่วมกัน
การทบทวนคำถาม ดังกล่าวข้างต้น จะทำให้เรามองเห็นสภาพปัจจุบัน-ปัญหา ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนหรือของประเทศไทย โดยเฉพาะในเรื่อง การพัฒนาเด็กแบบไม่สมดุล ที่เน้นการพัฒนาด้านวิชาการ มากกว่าการพัฒนา ด้านสุขนิสัย สุขภาพกาย สุขภาพจิต ซึ่งเป็นเรื่องสาคัญ จากการศึกษาแนวคิด เรื่อง The Healthy Classroom Hasting(2006) ได้เขียนถึงปัญหา การบริโภคอาหารไร้คุณภาพ(Junk Food) ปัญหาการเบี่ยงเบนทางเพศ ปัญหาการทำร้ายร่างกายตนเอง ปัญหาการฆ่าตัวตายของเด็ก ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ชักจะเข้าใกล้ประเทศเรามากยิ่งขึ้นทุกวัน ยกเว้นเราจะมีการทบทวนสภาพปัญหาเหล่านี้กันอย่างจริงจัง ผมเชื่อว่า จะนำไปสู่การกาหนดยุทธศาสตร์ หรือแนวทางการแก้ปัญหา ที่เป็นรูปธรรม ในโอกาสต่อไปได้อย่างแน่นอน ทางเลือกเพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตนักเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น