วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การประเมินใช้เครืองมือบล๊อก

             การประเมินการใช้บล็อกนี้
ให้นักศึกษาที่เรียนวิชานี้ แสดงความคิดเห็นการใช้บล็อกดังนี้
1. นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
รู้สึกได้ว่าอาจารย์ต้องการให้นักศึกษาค้นหาข้อมูลด้วยตนเองการที่นักศึกษาเอาข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยเพื่อให้นักศึกษามีความคิดที่เป็นของตัวเองเพื่อให้นักศึกษาไปใช้ประโยชน์ต่อไปครับ                                                                                               
2. นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ
ได้รับความรู้ในการใส่ภาพในรูปแบบสไลด์และการแทรกลูกเล่นต่างๆเช่นการใช้ปฏิทิน การใส่เพลง  เมาส์ และนาฬิกา เป็นต้น  เพื่อเป็นการพัฒนาในการใช้บล็อกต่อไปเพื่อใช้ในการสอนด้วยครับ
3. นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
สะดวกมาก ในหลายกรณี เช่น ส่งงานไม่ทันเราก็สามารถส่งทางบล็อกได้ และมีเวลาในการค้นคว้างานที่ได้ประสิทธิภาพและมีเวลาคิดวิเคราะห์ที่มากขึ้น สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้มีประโยชน์มากขึ้น
4. นักศึกษามีความพึงพอใจ ในระดับใด เช่น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่ แสดงความคิดเห็นและประเมินในเครื่องมือหน้าบล็อกของอาจารย์ เลือกตอบข้อเดียว (เลือกประเมินตามห้องและวิชาเอก)
มากที่สุด เนื่องจากได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเป็นการฝึกการใช้งานของบล็อกได้มากขึ้นและรู้จักวิธีการใช้งานของบล็อก ช่วยเสริมสร้างความรู้ความสามารถในก้าวทันยุคทันสมัยในปัจจุบันและให้ทันโลกของโลกาภิวัฒน์ สดวกต่อการเป็นครูพันธ์ใหม่ด้วยครับ

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การสอบครั้งที่ 2

1.Classroom Management
          การบริหารจัดการในชั้นเรียน(Classroom management)การที่ครูผู้สอนจะจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น การบริหารจัดการในห้องเรียนเป็นเรื่องที่ครูผู้สอนต้องตระหนักถึงเริ่มตั้งแต่ตัวครูต้องมีการบริหารจัดการในชั้นเรียน(Classroom management)การที่ครูผู้สอนจะจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น การบริหารจัดการในห้องเรียนเป็นเรื่องที่ครูผู้สอนต้องตระหนักถึงเริ่มตั้งแต่ตัวครูต้องมีการบริหารจัดการในชั้นเรียน การบริหารจัดการในห้องเรียนเป็นเรื่องที่ครูผู้สอนต้องตระหนักถึงเริ่มตั้งแต่ตัวครูต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีบุคลิกภาพที่แสดงถึงความเมตตาและเป็นมิตรกับผู้เรียน รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล รู้ภูมิหลัง ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน ซึ่งครูผู้สอนควรมีเครื่องมือ และทักษะในการรวบรวมข้อมูล

2. Happiness Classro
          Happiness เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุข เป็นความสุขที่เกิดจาก ประการที่หนึ่ง ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนสนใจ สาระการเรียนรู้ชวนให้สนใจใฝ่ค้นคว้าศึกษา ท้าทายให้แสดงความสามารถและให้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ประการที่สองปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตร มีการช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน ทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีความสุขและสนุกกับการเรียน
3. Life-long Education
           การศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Education) หมายถึง การจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non - Formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self - directed Learning) มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก

4. formal Education
         การศึกษาในระบบ (Formal Education) คือการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
5. non-formal education
        การศึกษานอกระบบ หมายถึง การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็กโดยเน้นการเรียนรู้ (Learning) แต่ในปัจจุบันการศึกษานอกระบบคือ กระบวนการจัดการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน ทั้งที่เป็นทัศนคติ ทักษะ และความรู้ซึ่งทำได้ยืดหยุ่นกว่าการเรียนในระบบโรงเรียนทั่วไป

6.   e-Learning
         คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น 
7. graded = ผู้สำเร็จการศึกษา
8.  Policy education
                เรื่องการเมือง (Politics) และเรื่องการศึกษา (Education) ความเข้าใจทั้ง 2 เรื่อง ต้องไปพร้อมกันในการสร้างสังคมประชาธิปไตย เรื่อง ประชาธิปไตย จะได้เข้าใจตั้งแต่เด็ก เป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกัน (mutual understanding) ทั้งเรื่องการเมืองและการศึกษาทั่วไป เป็นสองคำที่โดยปกติจะเน้นทางการเมือง แต่ต้องไม่ลืมว่าการศึกษา (Education) มีบทบาทเป็นกลางที่สำคัญในการทำหน้าที่ให้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน สิ่งที่เราพบเห็นข่าวทางโทรทัศน์ ได้ยินทางวิทยุ ล้วนไม่ใช่การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง หรือพัฒนาพลเมือง หากแต่เป็นเพียงการรับข้อมูลข่าวสารทางการเมืองเท่านั้น (Political Information)
9. Vision  วิสัยทัศน์
                การสร้างภาพอนาคต หรือการมองอนาคตซึ่งจะเป็นเป้าหมายในการเดินไปสู่อนาคต โดยวิธีการนำเอาระบบการวางแผนมาใช้ หรือหมายถึงสิ่งที่อยากเห็นในอนาคตและเป็นสิ่งที่ดีกว่าเดิม วิสัยทัศน์ จะเกิดจากการรู้จักคิดโดยใช้ปัญญา และมุ่งมั่นให้เกิดขึ้นจริง
10. Mission (ภารกิจ)
เป็นการบอกถึงลักษณะของธุรกิจที่องค์กรดำเนินอยู่ และสิ่งที่องค์กรเป็นอยู่ในปัจจุบันและทิศทางที่องค์กรจะมุ่งไปข้างหน้า
-ช่วยสร้างคุณค่าและความแตกต่างจากองค์กรอื่นในอุตสาหกรรม
-บ่งบอกถึงข้อมูลและวัตถุประสงค์พื้นฐานที่ทำให้องค์กรแตกต่างจากที่อื่น
-บ่งบอกถึงขอบเขตในการทำงานขององค์กรในแง่ของสินค้าและบริการ

11(GOAL)   คือสิ่งที่เราต้องการไปให้ถึง มาจากความต้องการ ความหวัง จินตนาการ ความใฝ่ฝันที่ผู้บริหารสร้างขึ้น แต่ต้อง อยู่ในกรอบที่ไม่เพ้อฝัน และสามารถบรรลุได้ด้วยกระบวนการจัดการ เป้าหมายไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกความสำเร็จ หากแต่การกระทำเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายตางหาก จะมีความหมายต่อความสำเร็จที่คาดหวัง
12 (Objective)   หมายถึง เป้าหมายซึ่งต้องการให้กิจกรรมบรรลุผลหรือหมายถึงเป้าหมายระยะสั้นที่มีลักษณะเจาะจง ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้
13 Backward Design   คือเป็นกระบวนการของการทบทวนและขัดเกลา (Review and Refine) ในเรื่องของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ดูเหมือน ไม่มีอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน แต่ในความไม่ยุ่งยากซับซ้อนนั้น คือการยุทธศาสตร์ของการปรับเปลี่ยน กระบวนการออกแบบการจัดเรียนรู้ยุคใหม่ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์อย่างเข้มข้นจริงจัง
14.  Effectiveness  การบรรลุถึงวัถตุประสงค์หรือเป้าหมายตามที่ต้องการ  คือมองตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง
15.  Efficiency  ความสามารถในการใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุด  และเกิดประโยชน์สูงสุด
16.  Economy   ความมัธยัสถ์
17. Equity   คือผลรวมของคุณสมบัติที่โดดเด่นของแบรนด์ที่ผสานรวมกันจนเกิดเป็นความเชื่อมั่น และความคาดหวังที่กลุ่มเป้าหมายจะมีให้ต่อแบรนด์นั้นๆ ความเชื่อมั่น คือ Trust ที่สามารถนำไปแปรเปลี่ยนเป็นมูลค่า ในขณะที่ความคาดหวัง
18. Empowerment  คือการทำให้เกิด ทำให้มี ทำให้ตระหนัก ทำให้เชื่อมั่น ทำให้ได้ใช้ ได้พัฒนา "ศักยภาพ" ที่มีอยู่ในตน ให้แปรรูปออกมาเป็นพลังที่สร้างสรรค์
19. Engagement  คือ การสร้างความเชื่อมั่น และผูกพันกับแบรนด์อย่างลึกซึ้งของลูกค้าที่พร้อมมีส่วนร่วมในการช่วยแบรนด์สร้างความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง
20.  project  คือ  กระบวนการทำงานที่ประกอบไปด้วยกิจกรรมหลายๆกิจกรรม ซึ่งมีการทำโครงการเป็นไปตามลำดับ โดยการทำงานจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
21. activies
22. Leadership   ภาวะผู้นำ หรือความเป็นผู้นำ ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการนำ (The American Heritage Dictionary, 1985 : 719) จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับความสำเร็จของผู้นำ ภาวะผู้นำได้รับความสนใจ และมีการศึกษามาเป็นเวลานานแล้ว เพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นองค์ประกอบที่ จะช่วยให้ผู้นำมีความสามารถในการนำ หรือมีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ
23. leaders   คือผู้ที่ปฏิบัติงานโดยเน้นเรื่อง ความมีประสิทธิผล’’
24.  Follows  คือ การติดตามหลักการออกแบบ ที่รูปทรงตามประโยชน์ใช้สอยนั้น เป็นระเบียบวิธีการออกแบบที่ถือปฏิบัติอย่างกว้างขวางของสถาปนิกและนักออกแบบ
25.  Situations  คือ  สถานการณ์
26.  Self awareness  คือ การรู้จักตน การเข้าใจความรู้สึกของตนเอง และจุดมุ่งหมายของชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจน การรู้จักจุดเด่นจุดด้อยของตนเองอย่างไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง
27.  Communication  คือ  การสื่อสาร กระบวนการถ่ายทอดสารจากบุคคลหนึ่ง (ผู้ส่งสาร) ไปยังบุคคลหนึ่ง (ผู้รับสาร) โดยผ่านสื่อต่าง ๆ
28.  Assertiveness = [การ ,ความ]ซึ่งยืนยันอย่างมั่นใจ
29. Time management = ความสามารถในการจัดการค่าจ้าง

30. POSDCoRB =กลายเป็นคัมภีร์ของการจัดองค์การในต้นยุคของศาสตร์การบริหารซึ่งตัวย่อแต่ละตัวมีความหมายดังนี้
P – Planning หมายถึง การวางแผน
O – Organizing หมายถึง การจัดองค์การ
S – Staffing หมายถึง การจัดคนเข้าทำงาน
D – Directing หมายถึง การสั่งการ
Co – Coordinating หมายถึง ความร่วมมือ
R – Reporting หมายถึง การรายงาน
B – Budgeting หมายถึง งบประมาณ

31.  Formal Leaders คือ  ผู้นำที่มีการแต่งตั้งขึ้น โดยอาจผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานหรือผู้บริหารในองค์กร จึงมีหน้าที่ดำเนินการโดยบทบาทและกฎระเบียบของหน่วยงาน
32.  Informal Leaders  คือ ผู้นำที่ไม่ได้มีการแต่งตั้งหรือมีหน้าที่ในเชิงของการบริหาร หรือหน้าที่ที่เกี่ยวกับการบังคับบัญชา แต่กลับได้รับการยกย่องหรือมีการยอมรับให้เป็นผู้นำ จากเพื่อนหรือผู้ที่มีตำแหน่งต่ำกว่า ซึ่งบุคคลนั้นอาจมีคุณสมบัติบางอย่างวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ นิสัยใจคอ ที่ก่อให้เกิดผู้นำแบบไม่เป็นทางการขึ้น
33.  Environment  คือ  สิ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
34.  Globalization  คือ  โลกาภิวัตน์  กระบวนการที่ทำให้มวลมนุษยชาติเกิดการลดความแตกต่างอันเกิดจากพื้นที่และการสื่อสาร ที่ทำให้เราเสมือนอยู่ในโลกที่เล็กลง ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการพัฒนาเทคโนโลยีทางการสื่อสารและเกิดความเป็นสากล หรือลดความแตกต่างของคนและสังคมในแต่ละท้องที่ที่ห่างไกลกัน
33.  Competency  คือ  ความสามารถเชิงสมรรถนะ หรือสมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะทั้งในด้านทักษะ ความรู้ และพฤติกรรม ของบุคคล ที่บุคคลแสดงออกในการปฏิบัติงาน ที่ทำให้การปฏิบัติงานนั้นประสบความสำเร็จ
34.  Organization Cultural  วัฒนธรรมองค์การ (หมายถึง ระบบของการยึดถือในสิ่งที่มีความหมายร่วมกันของสมาชิกภายในองค์การซึ่งมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงาน การตัดสินใจ และพฤติกรรมอื่น ๆ
35.  Individual Behavior  คือ  พฤติกรรมบุคคลคือการกระทำของแต่ละบุคคล
36.  Group Behavior  คือ พฤติกรรมระดับกลุ่ม  พฤติกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคล 2 บุคคล หรือระหว่างบุคคลกับกลุ่มจะมีผล เนื่องมาจากองค์ประกอบหลายอย่างในตัวบุคคล
37.  Organization Behavior  คือ  พฤติกรรมองค์กร  รูปแบบของพฤติกรรมองค์กรนี้ จะแสดงถึงอิทธิพลขององค์ประกอบต่างๆ ในองค์กร พฤติกรรมในระดับนี้ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากบุคคล ซึ่งเป็นผู้นำในองค์กรนั้นๆ ภาวะของผู้เป็นผู้นำจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมในระดับสาม ภาวะผู้นำนี้ยังบ่งบอกถึงว่าองค์กรได้เน้นให้มีการสื่อสารมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการติดต่อสื่อสารนี้จะเป็นสิ่งที่ประสานให้องค์กรอยู่ได้
38. Team working  คือ บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีปฏิสัมพันธ์ (Interacting) ต่อกัน และมีการพึ่งพา (Interdependent) ต่อกันและกันและใช้ความทักษะความสามารถเฉพาะตัวของบุคคล เพื่อจะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน
39.  Six Thinking Hats =การคิดแบบหมวก 6 ใบ ขึ้น โดยแยกกรอบความคิดออกเป็นด้านๆ อย่างชัดเจน จากนั้นจึงวิเคราะห์หา เหตุผลภายในกรอบความคิดนั้นๆ อันจะช่วยพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้ครอบคลุม และมีคุณภาพมากขึ้น แทนที่จะคิดทุกด้านในเวลาเดียวกัน ซึ่งมักก่อให้เกิดความสับสน
40.  Classroom Action Research =การวิจัยอากัปกิริยาห้องเรียน

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การสอบ


1.Classroom management 

                 คือ การจัดการกับห้องเรียนให้มีประสิทธิภาพที่สุดที่ใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งต้องอาศัยทั้งทางด้านผู้สอนและผู้เรียนที่ต้องร่วมมือกันโดยจะมีครูเป็นแกนนำและคอยชี้แนะนักเรียนรวมไปถึงการต้องมีกระบวนการในการปรับปรุงห้องเรียน จัดภูมิทัศน์ของโรงเรียน  ให้มีลักษณะของห้องเรียนที่ดี  จนทำให้นักเรียนมีความร่วมมือด้วยและครูมีหน้าที่สำคัญในการจัดการชั้นเรียน คือ การจัดการเรียนสอนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหา นักเรียนสามารถมีส่วนร่วมกับการเรียนได้ 

2. ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน  มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ 
               มาตรฐานวิชาชีพครู  มีความเข้าใจว่าคนที่จะเป็นครูได้จะต้องมีทั้งความรู้มีประสบการณ์  มีแนวทางที่ใช้ในการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนให้เหมาะสม  ซึ่งสิ่งเหล่านั้นจะเป็นเครื่องบ่งบอกว่าคนนั้นสามารถเป็นครูได้อย่างมีมาตรฐาน ดังนั้นความรู้ของครูก็จะเป็นความรู้ที่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้อย่างดีและถูกต้องและก่อนที่จะไปเป็นครูก็ควรมีการฝึกประสบการณ์ครูเพื่อเมื่อไปเป็นครูจริงๆจะสามารถดำเนินและทำหน้าที่ครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งรวมไปถึงว่าการฝึกประสบการณ์จะไม่ใช่แค่ฝึกสอนแต่จะรวมไปถึงการฝึกการปฏิบัติงานและตนเองเพื่อเตรียมตัวกับการทำงาน  จากการที่มีมาตรฐานวิชาชีพครู  ซึ่งจะมีการฝึกประสบการณ์มาแล้วทำให้เราสามารถจัดการกับการเรียนการสอนที่นักเรียนเบื่อหน่ายด้วยการ  หาวิธีการให้นักเรียนมีความสนใจและมีส่วนร่วมอยู่ตลอด  หรือไม่ก็หาสิ่งจูงใจให้แก่นักเรียน  และสิ่งเหล่านี้จะทำให้นักเรียนไม่เบื่อหน่ายและกลับมาสนใจการเรียนอีกด้วย

3.ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
แนวคิดในการจัดการในชั้นเรียนที่จะมีประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียนจะมีกระบวนการในการจัดสภาพแวดล้อมจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
 1. ความสะอาด ความปลอดภัย
 2. จัดโต๊ะ เก้าอี้ให้เอื้อต่อการเรียนการสอน
 3.จัดเตรียมชั้นเรียนให้พร้อมต่อการสอน
 4. ความสะดวกในการทำกิจกรรม
 5. ความพร้อมของอาคารสถานที่ เช่น ห้องเรียน ห้องน้ำห้องส้วม สนาม
เด็กเล่น ฯลฯ
6. ความพร้อมในสื่อการเรียนการสอน
7. สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น สร้างความเป็นกันเอง





4. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1)และข้อ(2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว

ทางโรงเรียนต้องมีการจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน  สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย  สภาพแวดล้อมดังกล่าวทำให้นักเรียนมีสุขภาพ ทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่งโรงเรียนต้องมีการจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน  สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย  สภาพแวดล้อมดังกล่าวทำให้นักเรียนมีสุขภาพ ทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เคทางโรงเรียนต้องมีการจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน  สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย  สภาพแวดล้อมดังกล่าวทำให้นักเรียนมีสุขภาพ ทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหาในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่รียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่บ้าน


5. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
คุณภาพผู้เรียนต้องประกอบด้วย
                 มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
ตัวอย่าง
1.1 มีวินัย มีความรับผิดชอบ และปฏิบัติตนตามหลักธรรมเบื้องต้นของศาสนาที่ตนนับถือ
1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต
1.3 มีความกตัญญูกตเวที
1.4 มีเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละเพื่อส่วนรวม
1.5 ประหยัด รู้จักใช้ทรัพย์สิ่งของส่วนตน และส่วนรวมอย่างคุ้มค่า
1.6 ภูมิใจในความเป็นไทย เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทย นิยมไทย และดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย
มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีจิตสำนึก ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่าง
2.1 รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
2.2 เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมกิจกรรม/โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับ
ผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
ตัวอย่าง
3.1 มีทักษะในการจัดการและทำงานให้สำเร็จ
3.2 เพียรพยายาม ขยัน อดทน ละเอียดรอบคอบในการทำงาน
3.3 ทำงานอย่างมีความสุข พัฒนางานและภูมิใจในผลงานของตนเอง
3.4 ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
3.5 มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนสนใจ
มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ
มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์
ตัวอย่าง
4.1 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปความคิดรวบยอด คิดอย่างเป็นระบบและมีการคิดแบบองค์รวม
4.2 สามารถคาดการณ์ กำหนดเป้าหมาย และแนวทางการตัดสินใจได้
4.3 ประเมินและเลือกแนวทางการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ
4.4 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มองโลกในแง่ดี และมีจินตนาการ
มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
ตัวอย่าง
5.1 มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์
5.2 มีผลการทดสอบรวบยอดระดับชาติเฉลี่ยตามเกณฑ์
5.3 สามารถสื่อความคิดผ่านการพูด เขียน หรือนำเสนอด้วยวิธีต่างๆ
5.4 สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
5.5 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู
มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และ
พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่าง
6.1 มีนิสัยรักการอ่าน การเขียน และการฟัง รู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผล
6.2 สนใจแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ รอบตัว ใช้ห้องสมุด แหล่งความรู้และสื่อต่าง ๆได้ ทั้งในและนอกสถานศึกษา
6.3 มีวิธีการเรียนรู้ของตนเอง เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้ สนุกกับการเรียนรู้และชอบมาโรงเรียน
มาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
ตัวอย่าง
7.1 มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
7.2 มีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์
7.3 ป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรคภัย อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ
7.4 มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม และให้เกียรติผู้อื่น
7.5 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครู และผู้อื่น
มาตรฐานที่ 8 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา
ตัวอย่าง
8.1 ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านศิลปะ
8.2 ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านดนตรี/นาฏศิลป์
8.3 ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านกีฬา/นันทนาการ
6. ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
           การพัฒนาคนหรือทรัพยากรมนุษย์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สิ่งที่สำคัญในการพัฒนาคนก็คือ การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลาย ๆ รูปแบบ โรงเรียนมีหน้าที่โดยตรงในการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีงาม
             ทางโรงเรียนต้องตระหนักในความสำคัญส่วนนี้ จึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเด็กให้เป็นคนดี เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ เสียสละ ขยัน ประหยัด อดทน และมีสัมมาคารวะ ให้นักเรียนได้สัมผัสความดีที่เป็นรูปธรรม จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและจิตสาธารณะ
             การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมจริยธรรมให้นักเรียน ด้วยการปรับปรุงระเบียบการลงโทษนักเรียน มาเป็นระเบียบการส่งเสริมความประพฤตินักเรียน งดการลงโทษทุกวิธี แต่เปลี่ยนเป็นการส่งเสริมให้นักเรียน ทำความดีทดแทนความผิด ซึ่งกำหนดขั้นตอนไว้ 5 ขั้นตอนคือ
             1. ให้นักเรียนวิเคราะห์ความผิดของตนเอง
               2. ให้นักเรียนเสนอวิธีทำความดีทดแทน
             3. นักเรียนปฏิบัติตามวิธีที่เสนอและครูอาจารย์ติดตามผล
             4. ประกาศความดีให้ทุกคนประจักษ์
จะทำให้นักเรียนทุกคนมีศักดิ์ศรี มีคุณค่า มีความแตกต่างทำให้เกิดความมุ่งมั่นว่า เด็กทุกคนสามารถพัฒนาให้เป็นคนดีได้ ซึ่งต้องใช้ทฤษฎีเสริมแรงเข้าช่วย โดยการให้ความรัก ความเมตตา ความเอื้ออาทร ความเป็นกัลยาณมิตร การยอมรับซึ่งกันและกัน การให้รางวัลแทนการลงโทษ ให้โอกาส และสร้างโอกาสให้นักเรียนประพฤติตนเป็นคนดี
       
    กิจกรรมนั่งสมาธิ
            การจัดกิจกรรมนี้ สามารถทำให้ นักเรียนมีสมาธิมากขึ้นไม่ว่าในด้านการเรียนหรือการทำงานต่างๆถ้าจะได้ผลดีจะต้องนั่งสมาธิก่อนเรียนสัก 2 นาทีเพื่อเรียกสติในการเรียนหนังสือให้มีความเข้าใจและบางครั้งควรให้นักเรียนไปนั่งสมาธิที่วัด

วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่14

                                                                      กิจกรรมหมวก6ใบ



การคิดแบบหมวก 6ใบ

 คนส่วนใหญ่นั้น มักจะเอาข้อเท็จจริง อารมณ์ หรือเหตุผลส่วนตัว มาปะปนกันในการถกเถียงเพื่อหวังเป็นผู้ชนะ ซึ่งวิธีการคิด การหาเหตุผลดังกล่าวข้างต้นเป็นวิธีที่ผิดและเสียเวลา ดังนั้น การคิดแบบหมวก 6 ใบขึ้น โดยแยกกรอบความคิดออกเป็นด้านๆ อย่างชัดเจน จากนั้นจึงวิเคราะห์หา เหตุผลภายในกรอบความคิดนั้นๆ อันจะช่วยพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้ครอบคลุม และมีคุณภาพมากขึ้น

หมวกสีขาว  หมวกสีขาว  นี้จะให้เราคิดถึงข้อมูลเท่านั้น  เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ล้วนๆ หาก คิดโดยใช้หมวกสีขาวก็จะเข้าใจเพียงแค่  อาจารย์สอนหนังสือในห้องและมีนักเรียนคุยกันเท่านั้น

                     หมวกสีแดง  นั้นตรงกันข้ามกับสีขาว คือไม่สนใจ ข้อมูล แต่จะเน้นด้านอารมณ์และความรู้สึกเท่านั้น            เมื่อใช้หมวกสีแดงในการมองสถารณ์การณ์ข้างต้น เราจะมองได้ว่า อาจารย์โมโห เพราะรู้สึกว่าเด็กกำลังคุกคามและไม่ให้เกียรติในการสอน นักเรียนก็หงุดหงิดเพราะเพื่อนคุยแข่ง เรียนไม่รู้เรื่อง เพราะเพื่อนคุยแข่งกับอาจารย์

                    หมวกสีดำ  จะเน้น คิดโดยโจมตีจุดอ่อน หรือข้อเสีย ในเรื่องนั้น ผู้คิดตั้งข้อสงสัยกับสิ่งที่เกิดขึ้น ประโยชน์ของหมวกดำจะทำให้เราเข้าใจจุดอ่อนของสิ่งๆนั้น(หรือตนเอง) เพื่อ มองเห็นปัญหาได้ ในชั้นเรียนที่มีเด็กคุยแข่งกับอาจารย์นั้น เมื่อมองผ่านหมวกสีดำ เราจะเห็นว่า ชั้นเรียนนั้นเราไม่ได้อะไรเลย เสียเวลา

                      หมวกสีเหลือง   จะมองไปในด้านดีของสิ่งที่เราจะคิด พยายามหาสิ่งดีๆในสิ่งที่เกิดขึ้น ถึงจะต้องขุดกันก็เถอะ
หากเรามองแบบหมวกสีเหลือง การที่เด็กคุยกันก็เหมือนกับการแบ่งโอกาสในการพูดอย่างเสมอภาค เด็กก็มีสิทธิจะคุยได้ด้วย  หรือไม่ก็เด็กคุยกันก็แสดงว่ามีเรื่องที่น่าจะสนุกสนาน บรรยากาศในห้องก็ไม่ตรึงเครียด นักเรียนที่คุยน่าจะเป็นคนมีอัธยาศัยดี


หมวกสีเขียว   คือความคิดที่สร้างสรรค์ นำมาซึ่งทางเลือกใหม่และวิธีแก้ปัญหาใหม่ เราต้องไม่ตัดสิน แต่ต้องตั้งข้อเสนอแนะความคิด ไอเดีย หรือมุมมองใหม่ๆขึ้นมา
ในเหตุการณ์ที่นักเรียนคุยกัน ครูอาจจะมองเห็นจุดอ่อนของตัวเอง แล้วกลับไปตีโจทย์ว่าทำไมเด็กไม่ตั้งใจเรียนแล้วหาวิธีการสอนใหม่ๆ    หรือ  อาจารย์อาจจะถือโอกาสพุดคุยกับเด็กบ้าง ถือโอกาสสร้างสัมพันธ์ให้เกิดขึ้น 

หมวกสีฟ้า   เป็นหมวกคิดของการวางแผน การจัดลำดับขั้นตอน หมวกสีฟ้าจะเป็นเหมือนประธานของที่ประชุมเป็นผู้บอกว่า เมื่อไรควรสวม หมวกสีใดหรือเปลี่ยนสวมหมวกสีใด
การคิดแบบหมวกสีฟ้าอาจครอบคลุม ประเด็นต่างๆ อาทิ ถึงตอนนี้เรากำลังคิดแบบใดอยู่ และคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว อะไรคือข้อสรุปที่ได้จากการทบทวนหลายรูปแบบ (หลายหมวกความคิด) และมีข้อน่าสังเกตหรือข้อท้วงติงใดบ้าง (เช่น กำลังหลงประเด็นอยู่หรือไม่ หรือใช้ความคิดแบบหมวกสีแดง มากไปหรือไม่)

                สรุปได้ว่าการเรียนแบบหมวก 6 ใบ หรือการเรียนแบบโครงงานก็ล้วนมีความสำคัญกันทั้งสองอย่างแต่อาจจะมีแนวความคิดที่แตกต่างกัน โดยหมวก 6 ใบจะสอนแบบหลากหลายความคิด ส่วนโครงงานสอนให้เด็กคิดแบบประสบการณ์ สามารถนำไปประยุกต์ไปใช้กับตัวเราเองได้ในการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

กิจกรรมที่13

The Healthy Classroom : ----------- โดย อาจารย์อภิชาติ วัชรพันธุ์               แนวคิดของ Steven Hastings (2006) จากหนังสือที่ชื่อว่า
       
ในวันนี้ กล่าวถึงความสำคัญของ "The Complete Classroom" โดย Hasting ได้เสนอแนะว่า "ห้องเรียนคุณภาพ/ห้องเรียนที่สมบูรณ์แบบ" น่าจะมีลักษณะที่สำคัญ 3 องค์ประกอบ คือ 1) The Healthy Classroom....เป็นห้องเรียนที่ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน 2) The Thinking Classroom....เป็นห้องเรียนที่เน้นการส่งเสริมด้านการคิดวิเคราะห์ หรือพัฒนาการทางสมอง และ 3) The Well-Rounded Classroom....ห้องเรียนบรรยากาศดี The Healthy Classroom เพราะในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีข่าวเรื่องนักเรียนโรงเรียนมีชื่อแห่งหนึ่ง จุดไฟเผาอาคารเรียน-อาคารห้องสมุดของโรงเรียน(ขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อโรงเรียนซ้า เพราะคิดว่าไม่เกิดผลดีทั้งต่อโรงเรียนและเด็ก) ซึ่งผมคิดว่าปัญหาส่วนหนึ่งน่าจะเนื่องมาจากการจัดการเรียนการสอนในประเทศของเรา โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับความนิยมสูง จะเน้นในความเป็น “The Thinking Classroom” หรือห้องเรียนที่เน้นด้านสมอง ด้านวิชาการมากเป็นพิเศษ ทาให้ลดโอกาสในการสร้าง “The Healthy Classroom” : ห้องเรียนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน การเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ คิดว่าเป็นการเสียหายที่น้อยมาก คือ เสียอาคารเพียงหลังเดียวและคุ้มค่ามาก หากเราจะได้บทเรียนและหันมาทบทวนกันอย่างจริงจังในเรื่องความเป็นห้องเรียนสุขภาพดี ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียนเพื่อลดโอกาสความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพื่อสักวันหนึ่ง เราจะต้องไม่มานั่งเสียใจกับปัญหานักเรียนทำร้ายร่างกายตนเอง นักเรียนฆ่าตัวตาย หรือนักเรียนมีพฤติกรรมก้าวร้าว ทาร้ายผู้อื่น/ทาลายสิ่งของ
        คำถามที่ผมอยากให้ทุกคนร่วมกันคิด โดยเฉพาะผู้จะเป็นครู คือ 
             1) ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
            ตอบ    เหตุการณ์ในปัจจุบันนี้หลายๆเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย เช่น นักเรียนทำร้ายตัวเองด้วยการฆ่าตัวตาย  พฤติกรรมก้าวร้าว เช่น ทำร้ายครู  ทำลายสิ่งของ  สิ่งที่นอกเหนือจากการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียนแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดกระผมคิดว่าสถาบันในครอบครัวของนักเรียนและการจัดการภายในครอบครัวของเขานั้นบกพร่องด้วย   อันเกิดจากการขาดความรู้ของผู้ปกครองหรืออย่างไรก็แล้วแต่  ในสมัยนี้เทคโนโลยี่ทันสมัยและก้าวหน้ากว่าก่อนมากจะเป็นดาบสองคมที่เป็นประโยชน์และทำร้ายตัวเองรวมทั้งสังคมได้  ของเล่นของเด็กก็ยิ่งทันสมัยตามมาด้วย    ยกตัวอย่างเช่น เกมส์ออนไลน์   ที่สามารถเล่นกับเพื่อนได้โดยไม่ต้องเห็นหน้ากันได้ การใช้เทคโนโลยี่อินเตอร์เน็ตที่ไร้การควบคุมและไปในทางที่ไม่ควร เหล่านี้ทำให้เด็กห่างเหินกับการอบรมสั่งสอนของพ่อแม่เพราะกิจกรรมส่วนใหญ่นอกเหนือจากโรงเรียนแล้วกิจกรรมประจำวันก็พัวพันอยู่กับสิ่งเหล่านี้ จึงทำให้พฤติกรรมของเด็กเบี่ยงเบนไปในที่สุด เช่น การกินก็กินไม่เป็นเวลาส่งผลต่อพํฒนาการทางร่างกาย    การเล่นเกมส์ที่รุนแรง เช่น เกมส์ต่อสู้  ทำให้สภาวะทางอารมณ์ของเด็กรุนแรงและก้าวร้าวตามมาด้วย การมุ่งมานะที่จะชนะเกมส์ให้ได้นั้นทำให้เขารู้สึกเสียใจผิดหวังอาจถึงกับฆ่าตัวตายได้นั้นสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาของสังคมที่เป็นผลมาจากหลายสาเหตุไม่ใช่แค่การบกพร่องทางการศึกษาเพียงผ่ายเดียวทุกส่วนของสังคมต้องร่วมกันแก้ไขเรื่องนี้อย่างเร่งด่วนแต่บทบาททางการจัดการศึกษาควรเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุดและตรงตัวที่สุดสำหรับปัญหานี้
               
             2)   ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม     คำถามว่า มีโรคประจำตัวอะไรบ้างแต่ไม่เคยถามว่า หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออก  กำลังกายไหม)
            ตอบ   ในปัจจุบันนี้ต้องยอมรับว่าการตื่นตัวเรื่องการรักสุขภาพเริ่มมีมากขึ้นในคนไทยไม่ว่าเด็กนักเรียนวันรุ่นหรือผู้ใหญ่ที่ทำงานแล้วก็ตามอันเนื่องมาจากกระแสของสังคมก็ตามแต่การมีหน่วยงานที่ส่งเสริมที่จัดขึ้นเพื่อการส่งเสริมกีฬาและอย่างอื่นด้วยเช่นดนตรีเช่น โครงการ   toobee nember  one  และการจัดแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติดทั่วประเทศ เช่นในโรงเรียน   กีฬาระดับหมู่บ้าน   ถึงกระแสการตื่นตัวจะมากขึ้นจริงแต่ก็ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังเฉยๆเป็นนิสัยอยู่ไม่รับรู้อะไรเพราะเขาถือว่าหน้าที่การงานของเขาเป็นการออกกำลังกายแล้วเช่น คนงานก่อสร้าง       ชาวเกษตรกรรม  เราจะให้เขามาออกกำลังกายได้อย่างไรในเมื่อการงานของเขาก็เป็นงานหนักเอาการอยู่และจะต้องใช้พละกำลังอยู่เสมอเป็นประจำวันอยู่แล้ว    ฉะนั้นการออกกำลังกายส่วนใหญ่แล้วถ้าเป็นผู้ใหญ่ก็เป็นอาชีพที่ทำงานเบาๆไม่หนักคนที่มีเวลาว่างพอสมควรคนที่ทำงานด้วยการนั้งอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ ก็มักเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ ส่วนเด็กนักเรียนนักศึกษานั้นจำเป็นอย่างมากไม่มีภาระหนักหนา
              ไม่ว่าจะเป็นใครอาชีพใดเขาก็ห่วงและรักชีวิตกันทั้งนั้นการออกกำลังกายมีหลายรูปแบบถ้าใจรักในการออกกำลังกายห่วงสุขภาพตัวเองก็สามารถที่กระทำได้ทั้งนั้นทั้งนั้นดั่งเช่นคำว่ากีฬากีฬาเป็นย่าวิเศษคำกล่าวนี้ได้แสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายแข่งแรงมีภูมิต้านทานจะเห็นได้จากนักกีฬาจะไม่ค่อยเจ็บไข้ได้ป่วยถ้าป่วยก็ใช้เวลาไม่นานในการรักษา
 
            3)   เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้) 
ตอบ  คนทุกคนมีความรู้สึกพื้นฐานทางอารมณ์ไม่เหมือนกันอยู่ที่สภาพแวดล้อมการอบรมณ์สั่งสอนและวุฒิภาวะของแต่ละคนซึ่งวัยเดียวกันอาจมีไม่เหมือนกันได้
เด็กไทยในวันนี้ถือว่ามีการควบคุมอารมณ์เก็บความรู้สึกได้น้อยเมื่อมีเหตุการณ์ที่มากระทบอารมณ์ความรู้สึกนึกอาจจะเกิดจากการเลี้ยงดูที่ตามใจของพ่อแม่และการเลี้ยงดูที่ผิดวิธี เช่น อยากได้อะไรต้องได้  พอไม่ได้เข้าก็เลยร้องให้ฟูมฟายจนพ่อแม่ยอมให้เลยเคยใจมาติดเป็นนิสัย
การปรับปรุงพฤติกรรมเหล่านี้ในชั้นเรียนของครู
1.ครูต้องมีเหตุผลพอและไม่ดุด่าต่อว่าเขาเพราะเด็กเหล่านี้มีความหวั่นไหวทางอารมณ์สูงอยู่แล้วเป็นพื้นฐาน
2.ต้องมีการเข้าฝึกอบรมเช่น  อบรมคุณธรรมจริยธรรม
3.สอนให้เขามองโลกในแง่บวก ยกตัวอย่างเช่น  ไม่เคยมีแช่มเพี้ยนคนไหนที่ไม่เคยแพ้มาก่อน
4.สอนวิธีคิดใหม่หลายๆรูปแบบ เช่น แบบหมวก6ใบ
5.ให้นักเรียนวิเคราะห์ตนเองว่าเขาบกพร่องด้านใดและจะพัฒนาตนเองอย่างไร
 
4)   ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง)
ตอบ   ในโรงเรียนที่เน้นวิชาการมากเกินไปจะเกิดช่องว่างระหว่างเด็กเก่งและเด็กที่เรียนอ่อนเพราะเด็กที่เรียนเก่งจะไม่รับเด็กเรียนอ่อนเข้ากลุ่มจุดนี้ครูควรใช้ความระมัดระวังด้วยและควรจัดการชั้นเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน คือให้คนที่เก่งช่วยสอนเสริมหรือติวให้เพื่อนที่เรียนอ่อนคือให้ใช้คะแนนแบบอิงกลุ่มจะเป็นการบังคับให้เพื่อนช่วยเพื่อนไปในตัว ครูไม่ควรคาดหวังในตัวคะแนมากจนเกินไปเพราะจะทำให้เด็กที่เรียนเก่งเห็นแก่ตัวมากขึ้นครู ควรเน้นการที่ให้เด็กได้รับความรู้ให้ได้มากที่สุด จะเป็นการช่วยเพิ่มจริยธรรมให้เด็กที่เรียนเก่งไปในตัวและช่วยให้เด็กที่เรียนอ่อนได้พํฒนาตนเองมากขึ้นมา
 
 5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจาชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
ตอบ   ขั้นแรกครูควรทำแบบสอบถามเพื่อทราบข้อมูลในตัวเด็กแต่ละคนและใช้วิธีการสังเกตุพฤติกรรมในการเรียนในชั้นเรียนและ นอกชั้นเรียนจากนั้นก็มาจำแนกเด็กเป็นกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่เรียนดีส่วนเด็กที่มีปัญหาครอบครัวนั้นครูต้องใช้ความระมัดระวังถึงการทราบถึงข้อมูลเพราะอาจกระทบถึงปมด่อยของนักเรียนได้ อาจใช้วิธีโดยการถามเพื่อนหรือเยี่ยมบ้านโดยไม่เป็นการกระทบต่อตัวนักเรียนโดยตรงจากนั้นก็มาแก้ปัญหาโดยให้ผู้ปกครองมีส่วนช่วยด้วยจากนั้นก็ทำแบบประเมินก่อนและหลังการทำการแก้ไขปัญหาโดยการจัดทำแผนการเรียนให้เหมาะสมกับเด็กส่วนเด็กที่เรียนนั้นครูควรระมัดระวังในการจัดการเรียนการสอนเพราะเด็กจำพวกนี้จะมีความเครียดสูงครูควรจัดบรรยากาศในชั้นเรียนแบบเป็นกันเองกับนักเรียนให้มากที่สุดเพื่อลดความเครียดไม่ควรให้ความสำคัญกับคะแนนมากเกินไปควรทำกิจกรรมแบบบูรณาการและแสดงบทบาทเสริมคุณธรรมรมไปถึงประสบการเพราะเด็กพวกนี้เก่งวิชาการอยู่แล้วและครูยกตัวอย่าง ประกอบในกรณีที่เกี่ยวข้องกับตัวเขาและให้เขาร่วมวิเคราะห์และแก้ปัญหาตัวเองด้วย


               6) ครูประจาชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้นโดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทางานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง) 

         ตอบ  โดยปกติแล้วเด็กกลุ่มเสี่ยงจะไม่ค่อยเข้าใกล้ครูฉะนั้นครูควรทำความเข้าใจตัวนักเรียนและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและให้เขารู้สึกไว้ใจในตัวครูเสียก่อนแต่มันต้องใช้เวลาให้เวลาเขาครูไม่ควรใช้วิธีแบบบังคับเพราะจะทำให้นักเรียนเกลงและพะวงมากขึ้นจากนั้นก็ค่อยๆแก้ปัญหาค่อยถามเขาพอเขารู้สึกดีแล้วเขาก็จะเข้าหาครูเอง

  7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา การควบคุมอารมณ์”)
ตอบ  ทางโรงเรียนแต่ละโรงเรียนควรมีคาบแนะแนวเพราะครูแนะแนวจะมีความรู้ในด้านจิตวิทยาอยู่แล้วและจะเข้าใจในวิธีการดีกว่าครูทั่วไปจะแก้ปัญหาตรงจุดมากขึ้น การพัฒนาบุคลิกภาพเป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะยิ่งเด็กหลายคนปัญหาก็ยิ่งมากเพราะเด็กแต่ละคนมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไปการพัฒนาบุคลิกที่ดีและได้ผลดีที่สุดนั้นต้องเริ่มทำเป็นช่วงๆไปเพราะการพัฒนาของเด็กแต่ละวัยไม่เหมือนกันต้องจัดให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงอายุเช่น เด็ก เด็กแรกเกิดจะตอบสนองทางปากโดยการร้องถ้าตอบไม่เต็มที่โตมาจะมีลักษณะนิสัยที่พูดมาก เป็นต้น

             
8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
ตอบ   ทุกโรงเรียนมีการประเมินอยู่แล้วเช่นชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงและถ้าพบว่าเด็กไม่ถึงเกณฑ์ก็ช่วยเหลือโดยการให้บัตรฟรีในการรับประทานอาหารกลางวัน


             9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจำชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
           ตอบ  มีครับทุกโรงเรียนต้องมีการทำแบบประเมิน สังเกตต่างๆเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดการเรียนรู้ของตัวนักเรียน ต้องมีการประชุมผู้ปกครองมารับทราบปัญหาด้วยเพื่อจะได้แก้ปํญหาร่วมกัน

        การทบทวนคำถาม ดังกล่าวข้างต้น จะทำให้เรามองเห็นสภาพปัจจุบัน-ปัญหา ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนหรือของประเทศไทย โดยเฉพาะในเรื่อง การพัฒนาเด็กแบบไม่สมดุล ที่เน้นการพัฒนาด้านวิชาการ มากกว่าการพัฒนา ด้านสุขนิสัย สุขภาพกาย สุขภาพจิต ซึ่งเป็นเรื่องสาคัญ จากการศึกษาแนวคิด เรื่อง The Healthy Classroom Hasting(2006) ได้เขียนถึงปัญหา การบริโภคอาหารไร้คุณภาพ(Junk Food) ปัญหาการเบี่ยงเบนทางเพศ ปัญหาการทำร้ายร่างกายตนเอง ปัญหาการฆ่าตัวตายของเด็ก ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ชักจะเข้าใกล้ประเทศเรามากยิ่งขึ้นทุกวัน ยกเว้นเราจะมีการทบทวนสภาพปัญหาเหล่านี้กันอย่างจริงจัง ผมเชื่อว่า จะนำไปสู่การกาหนดยุทธศาสตร์ หรือแนวทางการแก้ปัญหา ที่เป็นรูปธรรม ในโอกาสต่อไปได้อย่างแน่นอน ทางเลือกเพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตนักเรียน