การออกแบบการจัดการเรียนรู้
เป็นการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด เป็นเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ การจัดทำหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน เป็นหน่วยการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด เป็นเป้าหมายการเรียนรู้ของหน่วยฯ ในการออกแบบ การจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ครูผู้สอนต้องจัดทำโครงสร้างรายวิชาก่อน ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี
1.จัดทำโครงสร้างรายวิชา
2.กำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรู้
3.กำหนดหลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่กำหนด(ออกแบบการประเมินผล
การเรียนรู้ และกำหนดผลงาน/ชิ้นงาน/ภาระงาน)
4.ออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามเป้าหมายที่กำหนด(โดย
ตรวจสอบผลการจัดการเรียนรู้จาก “หลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้”
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ เวลา 3 คาบ
วิชา สังคมศึกษา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
สาระสำคัญ เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาแขนงหนึ่งของสังคมศาสตร์ ที่ศึกษาถึงธุรกรรมทางเศรษฐกิจการซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในการนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาผลิตเป็นสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัด ทั้งกระจายสินค้าให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมาย ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ได้
2. จำแนกประเภทของเศรษฐศาสตร์จุลภาคกับเศรษฐศาสตร์มหภาคได้
3. วิเคราะห์รูปแบบของเศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริงและที่ควรจะเป็นได้
4. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวิชาเศรษฐศาสตร์กับศาสตร์สาขาอื่น ๆ ได้
เนื้อหา
1.เศรษฐศาสตร์เกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกคนทั้งในฐานะผู้ผลิตและผู้บริโภค
2.ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ Economics และ Economikos
3.ความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์
4.การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์
5.ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
กิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นนำ1. ให้นักเรียนสำรวจตัวเองว่าเคยซื้อสินค้า เครื่องใช้ในการเรียนอะไรบ้าง
2. ครูแจ้งจุดประสงค์
3. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
ขั้นกิจกรรม1.ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 5 – 7 คน
2.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันศึกษาความหมายของเศรษฐศาสตร์จากแบบเรียน
3.ให้นักเรียนทุกกลุ่มส่งตัวแทนออกมากเสนอความหมายของเศรษฐศาสตร์
4.ให้นักเรียนทุกกลุ่มช่วยกันสรุปความหมายของเศรษฐศาสตร์
5.ครูช่วยเพิ่มเติมความหมายของเศรษฐศาสตร์ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
6.นักเรียนแลกแต่ละคนปฏิบัติตามใบงานที่ 1
8.นักเรียนและเปลี่ยนใบงานกัน แล้วตรวจตามคำเฉลยของครู
9.นักเรียนจดบันทึกความรู้ที่ได้รับลงสมุด
ขั้นวิเคราะห์ อภิปรายผลจากกิจกรรม 1. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันวิเคราะห์ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อชีวิตประจำวันของนักเรียน
2. ให้นักเรียนทุกกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลการวิเคราะห์ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์
3. ครูชมเชยถึงกระบวนการทำงานกลุ่ม
ขั้นสรุปผลและอภิปรายผล1. นักเรียนช่วยกันสรุปความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อชีวิตประจำวัน
2. นักเรียนทำแบบทอสอบ
3. นักเรียนและเปลี่ยนกระดาษคำตอบแล้วตรวจตามคำเฉลยของครู
สื่อและอุปกรณ์การสอน
1. แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน
2. ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
3. ใบความรู้ที่ 2 เรื่องความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์
4. ใบความรู้ที่ 3 เรื่องการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ และความสัมพันธ์ของวิชาเศรษฐศาสตร์
5. ใบงาน เรื่องความหมายและความสำคัญของเศรษฐศาสตร์
กิจกรรมเสนอแนะ1. นักเรียนควรศึกษาการใช้จ่าย การบริโภคสินค้า ต่าง ๆ
การวัดผลและประเมินผล1. วิธีวัด
1.1 ทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน
1.2 การทำงานกลุ่ม
1.3 การนำเสนอผลการวิเคราะห์ของกลุ่ม
1.4 ทดสอบ
2. เครื่องมือวัด
2.1 แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน
2.2 แบบสังเกตพฤติกรรมกลุ่ม
2.3 แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
2.4 ใบงาน
ใบความรู้ที่ 1เรื่อง ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาถึงการเลือก ( choice ) โดยเลือกสิ่งที่ดีที่สุด เศรษฐศาสตร์เป็นการจัดสรรทรัพยากรหรือสินค้าและบริการให้เพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์ โดยดำเนินการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ( Efficiency ) เพื่อให้ได้ผลผลิต ( output ) ที่เหมาะสม นักเศรษฐศาสตร์ ได้ให้คำจำกัดความที่แตกต่างกันดังนี้
-“เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการแลกเปลี่ยนสินค้
-“เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาถึงความมั่งคั่ง ( Wealth )”
-“เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาถึงการปรับปรุงสังคมและทำให้เกิดอารยธรรมอันดี”
-“เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาถึงระบบเงินตรา การธนาคาร การลงทุน และทรัพย์สิน หรือ ความมั่งคั่งต่าง ๆ
จากที่กล่าวมา เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยการผลิต ซึ่งมีปัจจัยประกอบด้วย ทุน ที่ดิน แรงงาน ผู้ประกอบการให้มีประสิทธิภาพ และ เป็นกระบวนการกระจายสินค้า และ บริการ หรือ ปริวรรตกรรม ( Distribution) ที่ผลิตได้ไปสู่ผู้บริโภคอย่างเป็นธรรมมากที่สุด จากคำจำกัดความ อาจให้คำนิยามได้ดังนี้
“เศรษฐศาสตร์ (Economics) คือวิชาที่ศึกษาถึงการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดและหายากในการผลิตสินค้าและบริการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งนี้ รวมถึงการกระจายสินค้าและบริการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุดและเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในปัจจุบันและอนาคต”
เศรษฐศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 สาขาคือ
1. เศรษฐศาสตร์ จุลภาค เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของสังคมในระดับหน่วยเช่นโรงงานหนึ่ง, บริษัทหนึ่ง, ห้างหุ้นส่วนหนึ่ง, ผู้ขายรายหนึ่ง, ตลาดแห่งหนึ่ง
2. เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจทุกหน่วยเศรษฐกิจในสังคมนั้นที่ประกอบขึ้นเป็นรายได้ ศึกษาถึงการรักษาเสถียรภาพของราคา การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมทั้งประเทศ การค้าระหว่างประเทศ และ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ใบความรู้ที่ 2เรื่องความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาถึงการเลือกใช้ทรัพยากรที่หายากและมีจำกัด เพื่อทำการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และ กระจายสินค้าให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุดในปัจจุบันและอนาคต เศรษฐศาสตร์เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของประชาชนโดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ การแก้ปัญหา จะต้องใช้เศรษฐศาสตร์ซึ่งมีความสำคัญในระดับต่าง ๆ ดังนี้
1. ระดับจุภาค เศรษฐศาสตร์ช่วยให้เข้าใจบทบาท และ พฤติกรรมการดำรงชีวิตของแต่ละคนในระบบเศรษฐกิจ ในฐานะ ผู้บริโภค , ผู้ผลิต , คนกลาง , เจ้าของปัจจัยการผลิต ถ้าเข้าใจปัญหาเศรษฐกิจแล้วจะสามารถแก้ปัญหาได้
2. ระดับมหภาค ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศเช่น ปัญหาการว่างงาน ปัญหาเงินเฟ้อ เมื่อได้ศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาคแล้วจะทำให้เกิดความเข้าใจสภาพข้อเท็จจริงของปัญหา ความสัมพันธ์และผลกระทบ แนวทางแก้ไข สามารถเลือกวิธีการทีทำให้บรรลุนโยบายเศรษฐกิจได้ถูกต้อง ไม่มีผลกระทบทางอ้อมที่เสียหาต่อเศรษฐกิจ
3. สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและเสถียรภาพ ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจะกำหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเน้นการทำให้เศรษฐกิจขยายตัว มีเสถียรภาพที่มั่นคง ไม่ขึ้นลงผันผวน เศรษฐศาสตร์ช่วยในการทำให้เกิดการขยายตัวหรือที่เรียกว่าการพัฒนาและการขยายตัวต้องมีเสถียรภาพ ไม่เป็นอันตรายกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เช่นการกู้ยืม การผูกพันหนี้สาธารณะ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่นประเทศไทยได้ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมาแล้วหลายแผน การขยายตัวหรืออัตราการพัฒนา ต้องอาศัยวิชาเศรษฐศาสตร์ในการกำหนดมาตรการและนโยบาย
สรุป ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ กล่าวถึงความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีไม่จำกัดแต่สินค้าและบริการหรือทรัพยากรนั้นมีจำกัดและหายาก จึงจำเป็นต้องศึกษาถึงการเลือกกรรมวิธีในการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด การเลือกและประสิทธิภาพก็คือเนื้อหาของวิชาเศรษฐศาสตร์
ใบความรู้ที่ 3เรื่องการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ และความสัมพันธ์ของวิชาเศรษฐศาสตร์
การวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์
การศึกษาเศรษฐศาสตร์ ทั้งระดับจุลภาคและระดับมหภาค มีแนวทางการวิเคราะห์อยู่สองแบบ คือ
1. เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง เป็นการวิเคราะห์ เศรษฐศาสตร์ตามข้อเท็จจริงตามหลักวิชาเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์พฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจว่าคืออะไร (What is) เท่านั้นจะไม่คำนึงถุงเป้าหมายทางสังคมว่าเป็นที่พึงปรารถนาหรือไม่ ไม่คำนึงถึงจริยธรรม หรือ ค่านิยมทางสังคม เช่น โรงงานน้ำตาล ทำให้น้ำเน่าเสีย ก็จะศึกษาเพียงว่าการเน่าเสียของน้ำก่อให้เกิดต้นทุนทางเศรษฐกิจและสังคมจำนวนเท่าใด จะไม่เสนอแนะว่าควรแก้ไขอย่างไรควรปิดโรงงานหรือไม่
2. เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น เป็นการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ ที่คำนึงถึงเป้าหมายทางสังคม วิเคราะห์ผลดี - ผลเสีย แนวทางแก้ไขควรทำอย่างไร โดยนำเอา จริยธรรม ค่านิยม และแนวคิดทางสังคมมาพิจารณากำหนดแนวทางว่าควรจะเป็นเช่นใด (What ought to be) เช่น ศึกษากรณีโรงงานน้ำตาลทำให้น้ำเน่าเสีย วิเคราะห์เศรษฐศาสตร์แล้วว่าเกิดต้นทุนทางเศรษฐกิจและสังคมเท่าไร แล้วยังเสนอว่าควรสร้างระบบกำจัดน้ำเสีย หรือย้ายโรงงานไปตั้งที่อื่น หรือปิดโดรงงาน โดยคำนึงถึงเป้าหมายทางสังคม
ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐศาสตร์กับศาสตร์สาขาอื่น ๆ
เนื่องจากเศรษฐศาสตร์ มุ่งศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในด้านการผลิตและการบริโภค เพื่อหาทางให้มนุษย์อยู่ดีกินดี วิชาเศรษฐศาสตร์จึงสัมพันธ์เกี่ยวกับศาสตร์สาขาต่าง ๆ เช่น
1. นิติศาสตร์ เช่นกฎหมายควบคุมราคาสินค้าหรือ ลิขสิทธิ์สินค้าต่าง ๆ
2. รัฐศาสตร์ การปกครองประเทศ ถ้าประชาชนอยู่ดีกินดีบ้านเมืองก็สงบสุข รัฐบาลต้องแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดีจะได้มีความสงบสุข โดยใช้หลักวิชาเศรษฐศาสตร์
3. บริหารธุรกิจ ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์จะช่วยให้นักธุรกิจตัดสินใจลงทุนและแก้ปัญหาภายในการบริหารธุรกิจในบริษัทนั้น ๆ เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด
นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ฯ ลฯ เช่นการสร้างอาคารเรียนต้องมุ่งประโยชน์ใช้สอยมากกว่าสวยงาม เพราะในแง่เศรษฐศาสตร์ที่ดินอาจมีราคาแพง
เป็นการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด เป็นเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ การจัดทำหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน เป็นหน่วยการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด เป็นเป้าหมายการเรียนรู้ของหน่วยฯ ในการออกแบบ การจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ครูผู้สอนต้องจัดทำโครงสร้างรายวิชาก่อน ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี
1.จัดทำโครงสร้างรายวิชา
2.กำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรู้
3.กำหนดหลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่กำหนด(ออกแบบการประเมินผล
การเรียนรู้ และกำหนดผลงาน/ชิ้นงาน/ภาระงาน)
4.ออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามเป้าหมายที่กำหนด(โดย
ตรวจสอบผลการจัดการเรียนรู้จาก “หลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้”
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ เวลา 3 คาบ
วิชา สังคมศึกษา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
สาระสำคัญ เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาแขนงหนึ่งของสังคมศาสตร์ ที่ศึกษาถึงธุรกรรมทางเศรษฐกิจการซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในการนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาผลิตเป็นสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัด ทั้งกระจายสินค้าให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมาย ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ได้
2. จำแนกประเภทของเศรษฐศาสตร์จุลภาคกับเศรษฐศาสตร์มหภาคได้
3. วิเคราะห์รูปแบบของเศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริงและที่ควรจะเป็นได้
4. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวิชาเศรษฐศาสตร์กับศาสตร์สาขาอื่น ๆ ได้
เนื้อหา
1.เศรษฐศาสตร์เกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกคนทั้งในฐานะผู้ผลิตและผู้บริโภค
2.ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ Economics และ Economikos
3.ความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์
4.การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์
5.ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ
กิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นนำ1. ให้นักเรียนสำรวจตัวเองว่าเคยซื้อสินค้า เครื่องใช้ในการเรียนอะไรบ้าง
2. ครูแจ้งจุดประสงค์
3. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
ขั้นกิจกรรม1.ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 5 – 7 คน
2.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันศึกษาความหมายของเศรษฐศาสตร์จากแบบเรียน
3.ให้นักเรียนทุกกลุ่มส่งตัวแทนออกมากเสนอความหมายของเศรษฐศาสตร์
4.ให้นักเรียนทุกกลุ่มช่วยกันสรุปความหมายของเศรษฐศาสตร์
5.ครูช่วยเพิ่มเติมความหมายของเศรษฐศาสตร์ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
6.นักเรียนแลกแต่ละคนปฏิบัติตามใบงานที่ 1
8.นักเรียนและเปลี่ยนใบงานกัน แล้วตรวจตามคำเฉลยของครู
9.นักเรียนจดบันทึกความรู้ที่ได้รับลงสมุด
ขั้นวิเคราะห์ อภิปรายผลจากกิจกรรม 1. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันวิเคราะห์ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อชีวิตประจำวันของนักเรียน
2. ให้นักเรียนทุกกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลการวิเคราะห์ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์
3. ครูชมเชยถึงกระบวนการทำงานกลุ่ม
ขั้นสรุปผลและอภิปรายผล1. นักเรียนช่วยกันสรุปความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อชีวิตประจำวัน
2. นักเรียนทำแบบทอสอบ
3. นักเรียนและเปลี่ยนกระดาษคำตอบแล้วตรวจตามคำเฉลยของครู
สื่อและอุปกรณ์การสอน
1. แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน
2. ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
3. ใบความรู้ที่ 2 เรื่องความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์
4. ใบความรู้ที่ 3 เรื่องการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ และความสัมพันธ์ของวิชาเศรษฐศาสตร์
5. ใบงาน เรื่องความหมายและความสำคัญของเศรษฐศาสตร์
กิจกรรมเสนอแนะ1. นักเรียนควรศึกษาการใช้จ่าย การบริโภคสินค้า ต่าง ๆ
การวัดผลและประเมินผล1. วิธีวัด
1.1 ทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน
1.2 การทำงานกลุ่ม
1.3 การนำเสนอผลการวิเคราะห์ของกลุ่ม
1.4 ทดสอบ
2. เครื่องมือวัด
2.1 แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน
2.2 แบบสังเกตพฤติกรรมกลุ่ม
2.3 แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
2.4 ใบงาน
ใบความรู้ที่ 1เรื่อง ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาถึงการเลือก ( choice ) โดยเลือกสิ่งที่ดีที่สุด เศรษฐศาสตร์เป็นการจัดสรรทรัพยากรหรือสินค้าและบริการให้เพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์ โดยดำเนินการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ( Efficiency ) เพื่อให้ได้ผลผลิต ( output ) ที่เหมาะสม นักเศรษฐศาสตร์ ได้ให้คำจำกัดความที่แตกต่างกันดังนี้
-“เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการแลกเปลี่ยนสินค้
-“เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาถึงความมั่งคั่ง ( Wealth )”
-“เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาถึงการปรับปรุงสังคมและทำให้เกิดอารยธรรมอันดี”
-“เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาถึงระบบเงินตรา การธนาคาร การลงทุน และทรัพย์สิน หรือ ความมั่งคั่งต่าง ๆ
จากที่กล่าวมา เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยการผลิต ซึ่งมีปัจจัยประกอบด้วย ทุน ที่ดิน แรงงาน ผู้ประกอบการให้มีประสิทธิภาพ และ เป็นกระบวนการกระจายสินค้า และ บริการ หรือ ปริวรรตกรรม ( Distribution) ที่ผลิตได้ไปสู่ผู้บริโภคอย่างเป็นธรรมมากที่สุด จากคำจำกัดความ อาจให้คำนิยามได้ดังนี้
“เศรษฐศาสตร์ (Economics) คือวิชาที่ศึกษาถึงการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดและหายากในการผลิตสินค้าและบริการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งนี้ รวมถึงการกระจายสินค้าและบริการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุดและเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในปัจจุบันและอนาคต”
เศรษฐศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 สาขาคือ
1. เศรษฐศาสตร์ จุลภาค เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของสังคมในระดับหน่วยเช่นโรงงานหนึ่ง, บริษัทหนึ่ง, ห้างหุ้นส่วนหนึ่ง, ผู้ขายรายหนึ่ง, ตลาดแห่งหนึ่ง
2. เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจทุกหน่วยเศรษฐกิจในสังคมนั้นที่ประกอบขึ้นเป็นรายได้ ศึกษาถึงการรักษาเสถียรภาพของราคา การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมทั้งประเทศ การค้าระหว่างประเทศ และ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ใบความรู้ที่ 2เรื่องความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาถึงการเลือกใช้ทรัพยากรที่หายากและมีจำกัด เพื่อทำการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และ กระจายสินค้าให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุดในปัจจุบันและอนาคต เศรษฐศาสตร์เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของประชาชนโดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ การแก้ปัญหา จะต้องใช้เศรษฐศาสตร์ซึ่งมีความสำคัญในระดับต่าง ๆ ดังนี้
1. ระดับจุภาค เศรษฐศาสตร์ช่วยให้เข้าใจบทบาท และ พฤติกรรมการดำรงชีวิตของแต่ละคนในระบบเศรษฐกิจ ในฐานะ ผู้บริโภค , ผู้ผลิต , คนกลาง , เจ้าของปัจจัยการผลิต ถ้าเข้าใจปัญหาเศรษฐกิจแล้วจะสามารถแก้ปัญหาได้
2. ระดับมหภาค ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศเช่น ปัญหาการว่างงาน ปัญหาเงินเฟ้อ เมื่อได้ศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาคแล้วจะทำให้เกิดความเข้าใจสภาพข้อเท็จจริงของปัญหา ความสัมพันธ์และผลกระทบ แนวทางแก้ไข สามารถเลือกวิธีการทีทำให้บรรลุนโยบายเศรษฐกิจได้ถูกต้อง ไม่มีผลกระทบทางอ้อมที่เสียหาต่อเศรษฐกิจ
3. สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและเสถียรภาพ ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจะกำหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเน้นการทำให้เศรษฐกิจขยายตัว มีเสถียรภาพที่มั่นคง ไม่ขึ้นลงผันผวน เศรษฐศาสตร์ช่วยในการทำให้เกิดการขยายตัวหรือที่เรียกว่าการพัฒนาและการขยายตัวต้องมีเสถียรภาพ ไม่เป็นอันตรายกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เช่นการกู้ยืม การผูกพันหนี้สาธารณะ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่นประเทศไทยได้ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมาแล้วหลายแผน การขยายตัวหรืออัตราการพัฒนา ต้องอาศัยวิชาเศรษฐศาสตร์ในการกำหนดมาตรการและนโยบาย
สรุป ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ กล่าวถึงความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีไม่จำกัดแต่สินค้าและบริการหรือทรัพยากรนั้นมีจำกัดและหายาก จึงจำเป็นต้องศึกษาถึงการเลือกกรรมวิธีในการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด การเลือกและประสิทธิภาพก็คือเนื้อหาของวิชาเศรษฐศาสตร์
ใบความรู้ที่ 3เรื่องการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ และความสัมพันธ์ของวิชาเศรษฐศาสตร์
การวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์
การศึกษาเศรษฐศาสตร์ ทั้งระดับจุลภาคและระดับมหภาค มีแนวทางการวิเคราะห์อยู่สองแบบ คือ
1. เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง เป็นการวิเคราะห์ เศรษฐศาสตร์ตามข้อเท็จจริงตามหลักวิชาเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์พฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจว่าคืออะไร (What is) เท่านั้นจะไม่คำนึงถุงเป้าหมายทางสังคมว่าเป็นที่พึงปรารถนาหรือไม่ ไม่คำนึงถึงจริยธรรม หรือ ค่านิยมทางสังคม เช่น โรงงานน้ำตาล ทำให้น้ำเน่าเสีย ก็จะศึกษาเพียงว่าการเน่าเสียของน้ำก่อให้เกิดต้นทุนทางเศรษฐกิจและสังคมจำนวนเท่าใด จะไม่เสนอแนะว่าควรแก้ไขอย่างไรควรปิดโรงงานหรือไม่
2. เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น เป็นการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ ที่คำนึงถึงเป้าหมายทางสังคม วิเคราะห์ผลดี - ผลเสีย แนวทางแก้ไขควรทำอย่างไร โดยนำเอา จริยธรรม ค่านิยม และแนวคิดทางสังคมมาพิจารณากำหนดแนวทางว่าควรจะเป็นเช่นใด (What ought to be) เช่น ศึกษากรณีโรงงานน้ำตาลทำให้น้ำเน่าเสีย วิเคราะห์เศรษฐศาสตร์แล้วว่าเกิดต้นทุนทางเศรษฐกิจและสังคมเท่าไร แล้วยังเสนอว่าควรสร้างระบบกำจัดน้ำเสีย หรือย้ายโรงงานไปตั้งที่อื่น หรือปิดโดรงงาน โดยคำนึงถึงเป้าหมายทางสังคม
ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐศาสตร์กับศาสตร์สาขาอื่น ๆ
เนื่องจากเศรษฐศาสตร์ มุ่งศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในด้านการผลิตและการบริโภค เพื่อหาทางให้มนุษย์อยู่ดีกินดี วิชาเศรษฐศาสตร์จึงสัมพันธ์เกี่ยวกับศาสตร์สาขาต่าง ๆ เช่น
1. นิติศาสตร์ เช่นกฎหมายควบคุมราคาสินค้าหรือ ลิขสิทธิ์สินค้าต่าง ๆ
2. รัฐศาสตร์ การปกครองประเทศ ถ้าประชาชนอยู่ดีกินดีบ้านเมืองก็สงบสุข รัฐบาลต้องแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดีจะได้มีความสงบสุข โดยใช้หลักวิชาเศรษฐศาสตร์
3. บริหารธุรกิจ ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์จะช่วยให้นักธุรกิจตัดสินใจลงทุนและแก้ปัญหาภายในการบริหารธุรกิจในบริษัทนั้น ๆ เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด
นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ฯ ลฯ เช่นการสร้างอาคารเรียนต้องมุ่งประโยชน์ใช้สอยมากกว่าสวยงาม เพราะในแง่เศรษฐศาสตร์ที่ดินอาจมีราคาแพง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น