วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

การออกแบบการจัดการเรียนรู้
เป็นการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด เป็นเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ การจัดทำหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน เป็นหน่วยการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด เป็นเป้าหมายการเรียนรู้ของหน่วยฯ ในการออกแบบ การจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ครูผู้สอนต้องจัดทำโครงสร้างรายวิชาก่อน ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี
1.จัดทำโครงสร้างรายวิชา
2.กำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรู้
3.กำหนดหลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่กำหนด(ออกแบบการประเมินผล
การเรียนรู้ และกำหนดผลงาน/ชิ้นงาน/ภาระงาน)
4.ออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามเป้าหมายที่กำหนด(โดย
ตรวจสอบผลการจัดการเรียนรู้จากหลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ เวลา 3 คาบ
วิชา สังคมศึกษา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

สาระสำคัญ เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาแขนงหนึ่งของสังคมศาสตร์ ที่ศึกษาถึงธุรกรรมทางเศรษฐกิจการซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในการนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาผลิตเป็นสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัด ทั้งกระจายสินค้าให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมาย ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ได้
2. จำแนกประเภทของเศรษฐศาสตร์จุลภาคกับเศรษฐศาสตร์มหภาคได้
3. วิเคราะห์รูปแบบของเศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริงและที่ควรจะเป็นได้
4. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวิชาเศรษฐศาสตร์กับศาสตร์สาขาอื่น ๆ ได้

เนื้อหา
1.เศรษฐศาสตร์เกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกคนทั้งในฐานะผู้ผลิตและผู้บริโภค
2.ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์ Economics และ Economikos
3.ความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์
4.การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์
5.ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ

กิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นนำ1. ให้นักเรียนสำรวจตัวเองว่าเคยซื้อสินค้า เครื่องใช้ในการเรียนอะไรบ้าง
2. ครูแจ้งจุดประสงค์
3. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน

ขั้นกิจกรรม1.ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 5 – 7 คน
2.ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันศึกษาความหมายของเศรษฐศาสตร์จากแบบเรียน
3.ให้นักเรียนทุกกลุ่มส่งตัวแทนออกมากเสนอความหมายของเศรษฐศาสตร์
4.ให้นักเรียนทุกกลุ่มช่วยกันสรุปความหมายของเศรษฐศาสตร์
5.ครูช่วยเพิ่มเติมความหมายของเศรษฐศาสตร์ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
6.นักเรียนแลกแต่ละคนปฏิบัติตามใบงานที่ 1
8.นักเรียนและเปลี่ยนใบงานกัน แล้วตรวจตามคำเฉลยของครู
9.นักเรียนจดบันทึกความรู้ที่ได้รับลงสมุด

ขั้นวิเคราะห์ อภิปรายผลจากกิจกรรม 1. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันวิเคราะห์ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อชีวิตประจำวันของนักเรียน
2. ให้นักเรียนทุกกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลการวิเคราะห์ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์
3. ครูชมเชยถึงกระบวนการทำงานกลุ่ม

ขั้นสรุปผลและอภิปรายผล1. นักเรียนช่วยกันสรุปความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อชีวิตประจำวัน
2. นักเรียนทำแบบทอสอบ
3. นักเรียนและเปลี่ยนกระดาษคำตอบแล้วตรวจตามคำเฉลยของครู

สื่อและอุปกรณ์การสอน
1. แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน
2. ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
3. ใบความรู้ที่ 2 เรื่องความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์
4. ใบความรู้ที่ 3 เรื่องการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ และความสัมพันธ์ของวิชาเศรษฐศาสตร์
5. ใบงาน เรื่องความหมายและความสำคัญของเศรษฐศาสตร์

กิจกรรมเสนอแนะ1. นักเรียนควรศึกษาการใช้จ่าย การบริโภคสินค้า ต่าง ๆ

การวัดผลและประเมินผล1. วิธีวัด
1.1 ทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน
1.2 การทำงานกลุ่ม
1.3 การนำเสนอผลการวิเคราะห์ของกลุ่ม
1.4 ทดสอบ
2. เครื่องมือวัด
2.1 แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน
2.2 แบบสังเกตพฤติกรรมกลุ่ม
2.3 แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
2.4 ใบงาน

ใบความรู้ที่ 1เรื่อง ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่ศึกษาถึงการเลือก ( choice ) โดยเลือกสิ่งที่ดีที่สุด เศรษฐศาสตร์เป็นการจัดสรรทรัพยากรหรือสินค้าและบริการให้เพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์ โดยดำเนินการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ( Efficiency ) เพื่อให้ได้ผลผลิต ( output ) ที่เหมาะสม นักเศรษฐศาสตร์ ได้ให้คำจำกัดความที่แตกต่างกันดังนี้
-“เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการแลกเปลี่ยนสินค้
-“เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาถึงความมั่งคั่ง ( Wealth )”
-“เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาถึงการปรับปรุงสังคมและทำให้เกิดอารยธรรมอันดี
-“เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาถึงระบบเงินตรา การธนาคาร การลงทุน และทรัพย์สิน หรือ ความมั่งคั่งต่าง ๆ
จากที่กล่าวมา เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยการผลิต ซึ่งมีปัจจัยประกอบด้วย ทุน ที่ดิน แรงงาน ผู้ประกอบการให้มีประสิทธิภาพ และ เป็นกระบวนการกระจายสินค้า และ บริการ หรือ ปริวรรตกรรม ( Distribution) ที่ผลิตได้ไปสู่ผู้บริโภคอย่างเป็นธรรมมากที่สุด จากคำจำกัดความ อาจให้คำนิยามได้ดังนี้
เศรษฐศาสตร์ (Economics) คือวิชาที่ศึกษาถึงการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดและหายากในการผลิตสินค้าและบริการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งนี้ รวมถึงการกระจายสินค้าและบริการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุดและเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในปัจจุบันและอนาคต

เศรษฐศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 สาขาคือ
1. เศรษฐศาสตร์ จุลภาค เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของสังคมในระดับหน่วยเช่นโรงงานหนึ่ง, บริษัทหนึ่ง, ห้างหุ้นส่วนหนึ่ง, ผู้ขายรายหนึ่ง, ตลาดแห่งหนึ่ง
2. เศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจทุกหน่วยเศรษฐกิจในสังคมนั้นที่ประกอบขึ้นเป็นรายได้ ศึกษาถึงการรักษาเสถียรภาพของราคา การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมทั้งประเทศ การค้าระหว่างประเทศ และ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

ใบความรู้ที่ 2เรื่องความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาถึงการเลือกใช้ทรัพยากรที่หายากและมีจำกัด เพื่อทำการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และ กระจายสินค้าให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุดในปัจจุบันและอนาคต เศรษฐศาสตร์เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของประชาชนโดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ การแก้ปัญหา จะต้องใช้เศรษฐศาสตร์ซึ่งมีความสำคัญในระดับต่าง ๆ ดังนี้
1. ระดับจุภาค เศรษฐศาสตร์ช่วยให้เข้าใจบทบาท และ พฤติกรรมการดำรงชีวิตของแต่ละคนในระบบเศรษฐกิจ ในฐานะ ผู้บริโภค , ผู้ผลิต , คนกลาง , เจ้าของปัจจัยการผลิต ถ้าเข้าใจปัญหาเศรษฐกิจแล้วจะสามารถแก้ปัญหาได้
2. ระดับมหภาค ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศเช่น ปัญหาการว่างงาน ปัญหาเงินเฟ้อ เมื่อได้ศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาคแล้วจะทำให้เกิดความเข้าใจสภาพข้อเท็จจริงของปัญหา ความสัมพันธ์และผลกระทบ แนวทางแก้ไข สามารถเลือกวิธีการทีทำให้บรรลุนโยบายเศรษฐกิจได้ถูกต้อง ไม่มีผลกระทบทางอ้อมที่เสียหาต่อเศรษฐกิจ
3. สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและเสถียรภาพ ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจะกำหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเน้นการทำให้เศรษฐกิจขยายตัว มีเสถียรภาพที่มั่นคง ไม่ขึ้นลงผันผวน เศรษฐศาสตร์ช่วยในการทำให้เกิดการขยายตัวหรือที่เรียกว่าการพัฒนาและการขยายตัวต้องมีเสถียรภาพ ไม่เป็นอันตรายกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เช่นการกู้ยืม การผูกพันหนี้สาธารณะ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่นประเทศไทยได้ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมาแล้วหลายแผน การขยายตัวหรืออัตราการพัฒนา ต้องอาศัยวิชาเศรษฐศาสตร์ในการกำหนดมาตรการและนโยบาย
สรุป ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ กล่าวถึงความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีไม่จำกัดแต่สินค้าและบริการหรือทรัพยากรนั้นมีจำกัดและหายาก จึงจำเป็นต้องศึกษาถึงการเลือกกรรมวิธีในการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด การเลือกและประสิทธิภาพก็คือเนื้อหาของวิชาเศรษฐศาสตร์

ใบความรู้ที่ 3เรื่องการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ และความสัมพันธ์ของวิชาเศรษฐศาสตร์
การวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์
การศึกษาเศรษฐศาสตร์ ทั้งระดับจุลภาคและระดับมหภาค มีแนวทางการวิเคราะห์อยู่สองแบบ คือ
1. เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง เป็นการวิเคราะห์ เศรษฐศาสตร์ตามข้อเท็จจริงตามหลักวิชาเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์พฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจว่าคืออะไร (What is) เท่านั้นจะไม่คำนึงถุงเป้าหมายทางสังคมว่าเป็นที่พึงปรารถนาหรือไม่ ไม่คำนึงถึงจริยธรรม หรือ ค่านิยมทางสังคม เช่น โรงงานน้ำตาล ทำให้น้ำเน่าเสีย ก็จะศึกษาเพียงว่าการเน่าเสียของน้ำก่อให้เกิดต้นทุนทางเศรษฐกิจและสังคมจำนวนเท่าใด จะไม่เสนอแนะว่าควรแก้ไขอย่างไรควรปิดโรงงานหรือไม่
2. เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น เป็นการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ ที่คำนึงถึงเป้าหมายทางสังคม วิเคราะห์ผลดี - ผลเสีย แนวทางแก้ไขควรทำอย่างไร โดยนำเอา จริยธรรม ค่านิยม และแนวคิดทางสังคมมาพิจารณากำหนดแนวทางว่าควรจะเป็นเช่นใด (What ought to be) เช่น ศึกษากรณีโรงงานน้ำตาลทำให้น้ำเน่าเสีย วิเคราะห์เศรษฐศาสตร์แล้วว่าเกิดต้นทุนทางเศรษฐกิจและสังคมเท่าไร แล้วยังเสนอว่าควรสร้างระบบกำจัดน้ำเสีย หรือย้ายโรงงานไปตั้งที่อื่น หรือปิดโดรงงาน โดยคำนึงถึงเป้าหมายทางสังคม
ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐศาสตร์กับศาสตร์สาขาอื่น ๆ
เนื่องจากเศรษฐศาสตร์ มุ่งศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในด้านการผลิตและการบริโภค เพื่อหาทางให้มนุษย์อยู่ดีกินดี วิชาเศรษฐศาสตร์จึงสัมพันธ์เกี่ยวกับศาสตร์สาขาต่าง ๆ เช่น
1. นิติศาสตร์ เช่นกฎหมายควบคุมราคาสินค้าหรือ ลิขสิทธิ์สินค้าต่าง ๆ
2. รัฐศาสตร์ การปกครองประเทศ ถ้าประชาชนอยู่ดีกินดีบ้านเมืองก็สงบสุข รัฐบาลต้องแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดีจะได้มีความสงบสุข โดยใช้หลักวิชาเศรษฐศาสตร์
3. บริหารธุรกิจ ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์จะช่วยให้นักธุรกิจตัดสินใจลงทุนและแก้ปัญหาภายในการบริหารธุรกิจในบริษัทนั้น ๆ เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด
นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ฯ ลฯ เช่นการสร้างอาคารเรียนต้องมุ่งประโยชน์ใช้สอยมากกว่าสวยงาม เพราะในแง่เศรษฐศาสตร์ที่ดินอาจมีราคาแพง

กิจกรรมที่ 10

1)  กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ
ผู้ค้นพบปราสาทพระวิหารคือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระราชโอรสองค์ที่๑๑ ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พบเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ขณะทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็น ข้าหลวงต่างพระองค์ เสด็จไปรับราชการที่มณฑลลาวกาว (อีสาน) ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และได้ทรงจารึกปี  ร.ศ. ที่พบเป็นเลขไทย ตามด้วยพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดี เป็นข้อความว่า "๑๑๘ สรรพสิทธิ" ต่อมาเมื่อประเทศฝรั่งเศสเข้าครอบครองอินโดจีนได้ทำสนธิสัญญา พ.ศ. ๒๔๔๗ ในการปักปันเขตแดนกับราชอาณาจักรสยาม โดยมีความตามมาตรา ๑ ของสนธิสัญญา ระบุให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ซึ่งมีผลให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนไทย ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๑ ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ฝ่ายเดียว ส่งมอบให้สยาม ๕๐ ชุด แต่ละชุดมี ๑๑ แผ่นและมีแผ่นหนึ่งคือ "แผ่นดงรัก" ที่ครอบคลุมพื้นที่ปราสาทพระวิหาร และไม่ได้ใช้แนวสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ทำให้ปราสาทพระวิหารในแผนที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา โดยที่รัฐบาลสยามในขณะนั้นไม่ได้รับรองหรือทักท้วงความถูกต้องของแผนที่ดัง กล่าว
ต่อมาในปี พ.ศ.  ๒๔๘๓ ประเทศฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อประเทศเยอรมนี ทำให้แสนยานุภาพทางทหารลดลง จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ยื่นข้อเสนอเรียกร้องดินแดนที่เสียไปในสมัยรัชกาลที่ ๕ คืนจากฝรั่งเศส ซึ่งฝรั่งเศสปฏิเสธและมีการเคลื่อนไหวทางทหาร ที่ทำให้เกิด สงครามพิพาทอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ประเทศไทยได้รับชัยชนะในการรบตลอด ๒๒ วัน กระทั่งประเทศญี่ปุ่นที่เป็นมหาอำนาจในขณะนั้นเสนอตัวเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ย และฝรั่งเศสได้ตกลงคืน จังหวัดไชยบุรี จำปาศักดิ์ เสียมราฐ และ พระตะบองให้กับไทย ตาม อนุสัญญาโตเกียว ทำให้ปราสาทพระวิหารกลับมาอยู่ในดินแดนไทยอย่างสมบูรณ์ ต่อมาเกิด สงครามโลกครั้งที่ ๒ รัฐบาลไทยประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร และต่อมาญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ประเทศไทยต้องรักษาสถานะตัวเองไม่ให้เป็นฝ่ายแพ้สงครามตามญี่ปุ่น และต้องการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ จึงตกลงคืนดินแดน ๔ จังหวัดให้ฝรั่งเศส ทำให้ปราสาทพระวิหารกลับไปอยู่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ต่อมาในปี         พ.ศ. ๒๔๙๗ ฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อเวียดนามที่เดียนเบียนฟู ต้องถอนทหารออกจากอินโดจีน ประเทศกัมพูชาได้รับเอกราชตามสนธิสัญญาเจนีวา และไทยได้ส่งทหารเข้าไปรักษาการบริเวณปราสาทพระวิหารอีกครั้ง
ภายหลังกัมพูชาได้รับเอกราช เจ้านโรดมสีหนุ กษัตริย์กัมพูชาสละราชสมบัติเข้าสู่การเมือง ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี และประกาศเรียกร้องให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร และไทยไม่ยอมรับ เจ้านโรดมประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๑ และในปีต่อมา เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ เจ้านโรดมสีหนุได้ฟ้องร้องต่อ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ  หรือศาลโลก ให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร ฝ่ายไทยต่อสู้คดีโดยมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช กับคณะรวม ๑๓ คน เป็นทนายฝ่ายไทย และฝ่ายกัมพูชามีนายดีน แอจิสัน เนติบัณฑิตแห่งศาลสูงสุด อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เป็นหัวหน้าคณะ กับพวกอีกรวม ๙ คน
กระทั่งวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยเสียง ๙ ต่อ ๓ และในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ หลังจากศาลโลกตัดสินแล้ว ๒๐ วัน รัฐบาลไทยโดย ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือไปยัง นายอูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อประท้วงคำพิพากษาของศาลโลก และสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืนในอนาคต ทั้งนี้คำตัดสินของศาลโลกนั้นเป็นที่สิ้นสุด ไม่มีการอุทธรณ์ การจะนำคดีกลับขึ้นมาพิจารณาใหม่นั้นสามารถทำได้ถ้ามีหลักฐานใหม่และต้องทำ ภายในสิบปี หลังจากนั้นไม่นาน กัมพูชาเกิด สงครามกลางเมืองขึ้นภายในประเทศ ปราสาทหินแห่งนี้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมเพียงช่วงสั้น ๆ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ แต่ปีต่อมาก็ถูก เขมรแดงเข้าครอบครอง จากนั้นก็เปิดอีกครั้งจากฝั่งประเทศไทย เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๑
2)  กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
นายกษิต ภิรมย์  เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกและคนเดียวที่เพิกถอนหนังสือ เดินทางทุกประเภทของนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ติดต่อทางการทูตกับหลายประเทศเพื่อให้ความร่วมมือในการมิให้นักโทษชายทักษิณ ทำร้ายประเทศไทยและยังขอความร่วมมือในการส่งตัวกลับมารับโทษทัณฑ์ในประเทศ ไทย จึงถือเป็นบุคคลอันตรายที่สุดในระบอบทักษิณ ใช่หรือไม่?
แต่ที่น่าจับตามากที่สุดในเวลานี้ กลับเป็นเรื่องผลประโยชน์อันมหาศาลในเรื่องปราสาทพระวิหาร พื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร และดินแดนอธิปไตยของไทย  ๑.๕ ล้านไร่ ตลอดจนผลประโยชน์ทางพลังงานในพื้นที่อ่าวไทย ที่ฝ่ายกัมพูชากำลังรุกล้ำอย่างหนัก ซึ่งเชื่อว่า ไม่สามารถที่จะเจรจากับนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพื่อให้ยินยอมในเรื่องเหล่านี้ได้
นายกษิต ภิรมย์ เป็นผู้เสนอทางออกเรื่องปราสาทพระวิหารว่า  ให้ทำหนังสือยกเลิกแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชาส่งให้ประเทศกัมพูชาและคณะกรรมการมรดกโลกอัน เป็นที่มาของแถลงการณ์ในข้อเรียกร้องของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยใน เวลาต่อมา ซึ่งถึงวันนี้รัฐบาลก็ยังไม่ได้ทำตามข้อเรียกร้องดังกล่าวช่างบังเอิญว่า นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในช่วงหลังไม่ได้เป็นผู้เจรจากับนายฮุน เซน ในเรื่องปราสาทพระวิหารและผลประโยชน์ในอ่าวไทยอีกต่อไป แต่กลับเป็นนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ที่ไม่เจรจาเรื่องปราสาทพระวิหารและการรุกล้ำอธิปไตยของไทย แต่กลับไปเจรจาอย่างขะมักเขม้นในเรื่องผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทย ซึ่งดูเหมือนว่าจุดยืนจะไม่เหมือนกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายกษิต ภิรมย์ ตามคำสัมภาษณ์ตอนหนึ่งของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ว่า:
 คิด ว่าความรุนแรงบริเวณเขาพระวิหารจะลดระดับลง อย่าไปคิดว่าเขาพระวิหารจะต้องมีอะไรโต้แย้งกันระหว่างไทยกับกัมพูชา เพราะศาลโลกตัดสินมาตั้งหลายสิบปีแล้วว่าเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ส่วนการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน ก็มีส่วนอื่นๆ
เป็น ความคิดที่เหมือนเป็นพวกเดียวกันกับ นายนพดล ปัทมะ และนายสมัคร สุนทรเวช อย่างไม่ผิดเพี้ยน! ยังมีเรื่องน่าประหลาดใจมากขึ้นไปอีก ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ยังคงเน้นไมตรีระหว่างประเทศจนมองข้ามการเจรจาเรื่องอธิปไตยในพื้นที่รอบ ปราสาทพระวิหาร มุ่งเน้นการเจรจาเรื่องผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทยแทน ซึ่งมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกันกับรัฐบาลหุ่นเชิดเมื่อปีที่แล้ว
นึกถึงข่าวประจานของฝ่ายกัมพูชาที่ระบุว่า ประเทศไทยมีการเจรจาเรื่องปราสาทพระวิหารมาแลกเปลี่ยนปะปนกับผลประโยชน์ทาง ทะเล เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม  พ.ศ ๒๕๕๑ จากหนังสือพิมพ์เดอะ คอมโบเดีย เดลี นายจาม ประสิทธิ์ รัฐมนตรีพาณิชย์ของกัมพูชา ที่ให้สัมภาษณ์ความตอนหนึ่งว่า:
ไทยเป็นฝ่ายที่พยายามโยงกรณีพื้นที่ทับซ้อนบริเวณเขาพระวิหารเข้ากับผล ประโยชน์ทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างการเจรจากับฝ่ายกัมพูชา ซึ่งกัมพูชาไม่เห็นด้วย โดยที่พวกเขา(ไทย) ต้องการโยง ๒ เรื่องเข้าด้วยกัน ดังนั้น หากเราแก้ปัญหาเขาพระวิหาร เราก็ต้องแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนด้วย มันเป็นคนละเรื่องกัน ดูเหมือนว่าขณะนี้ฝ่ายไทยกำลังสร้างเงื่อนไขเพิ่มเติมขึ้นมา ทำให้การแก้ไขปัญหายากขึ้น
3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
นายชวน หลีกภัย ให้สัมภาษณ์กรณีที่หลายฝ่ายเรียกร้องให้มีการยกเลิกบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างไทยกับกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมกัน พ.ศ. ๒๕๔๓ ว่า ต้องการให้คนที่มีความเข้าใจ และเกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวเป็นผู้พูด โดยเฉพาะ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ และ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในขณะนั้น และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
สาเหตุที่มีการทำ MOU ดังกล่าว เพราะขณะนั้นมีข้อขัดแย้งตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และทั้ง ๒ ฝ่าย พยายามหาข้อยุติร่วมกัน ในการปักปันเขตแดน โดยการปักปัน ก็เป็นไปตามกระบวนการที่ตกลงกันไว้ และแต่ละฝ่ายต้องไม่ละเมิดพื้นที่ จึงยืนยันได้ว่าการดำเนินการดังกล่าว ไม่ได้ทำให้ไทยเสียเปรียบ
ผม คิดว่า ในระหว่างนี้ หลังจากมีการทำข้อตกลง มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ควรต้องลงไปดูในพื้นที่ และคุยกับเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อย จะทำให้รู้เบื้องหลังบางเรื่อง ผมไม่ได้ทำอะไรให้ประเทศชาติเสียประโยชน์ สมัยผมไม่มีเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว ทุกอย่างทำเพื่อผลประโยชน์บ้านเมืองทั้งสิ้น และไม่คิดว่าเอ็มโอยู ปี ๔๓ กลายเป็นจำเลยของสังคม มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คิดเช่นนี้" นายชวน กล่าวว่ากองทัพไม่ประมาท เตรียมพร้อมป้องอธิปไตย เชื่อเขมรไม่พอใจเลื่อนพิจารณา เขาพระวิหาร
4)  กรณีคนไทย    7     คน     ประกอบด้วย    สส.พรรคประชาธิปัตย์       (นายพนิต) ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานวันที่ ๗ ม.ค. โดยอ้างหนังสือพิมพ์พนมเปญ โพสต์ และสื่อท้องถิ่นของกัมพูชา ที่ระบุว่า กอย เกือง โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ออกมาให้สัมภาษณ์โดยยืนยันว่า การพิจารณาคดี  ๗ คนไทยที่ถูกกล่าวหาว่ารุกล้ำดินแดนของกัมพูชานั้น ไม่มีความเกี่ยวข้อง และถือเป็น "คนละประเด็น" กับเรื่องความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัมพูชาและไทย
โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา เปิดเผยเรื่องดังกล่าวที่กรุงพนมเปญโดยยืนยันว่า กรณีของ๗ คนไทย ไม่ควรถูกนำมาโยงเป็นเรื่องเดียวกับความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนบ้านทั้ง ๒ประเทศ เพราะถือเป็นคนละประเด็นที่ต้อง"แยก" ออกจากกัน พร้อมย้ำว่า ในเวลานี้ต้องปล่อยให้ศาลเป็นผู้พิจารณาเท่านั้น โดยที่ฝ่ายอื่นยังไม่ควรเข้าไปก้าวล่วง
โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใดๆ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา จะร้องขอให้มีการอภัยโทษแก่คนไทยทั้ง ๗ คนในภายหลัง หากศาลกัมพูชามีคำพิพากษาความผิดของทั้งหมดออกมาแล้ว
ทั้งนี้ ทางการกัมพูชายังไม่มีการกำหนดวันตัดสินคดีของทั้ง ๗ คนไทยอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด แต่หากศาลตัดสินว่าทั้งหมดมีความผิดจริงในข้อหาเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ก็อาจต้องรับโทษจำคุกในเรือนจำของกัมพูชาสูงสุดเฉพาะข้อหานี้เป็นเวลานานถึง ๑๘ เดือน

กิจกรรมที่ 9

จากการที่ได้ศึกษาจาการดูโทรทัศน์เรื่อง 15ปีไม่มีเบื่อ สำคัญที่เตรียมการสอน แล้วทำให้มีความตระหนักถึงการเป็นครูที่กระตือรือร้นมากขึ้นในด้านการเตรียมการสอนที่ดีการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆตลอดเวลาเพื่อที่ได้นำไปใช้ในการสอนที่ไม่น่าเบื่อ  โดยที่การฝึกฝน  การหาเทคนิคการสอนเช่น การอ่านหนังสือเทคนิคการสอนของต่างประเทศ  การเข้าฝึกอบรมการทำกิจกรรมซึ่งจะสามารถมีได้ตลอดเวลาเพื่อจะได้พัฒนานักเรียนให้ได้รับความรู้อย่างเต็มที่ 
หากต้องไปฝึกสอนที่สถานศึกษาดังกล่าวจะต้องเตรียมตัวในการสอนอย่างมากจัดเรียงลำดับการสอนให้เป็นระบบเพื่อจะได้พัฒนานักเรียนได้อย่างเต็มที่และนักเรียนจะไม่สับสนด้วยซึ่งในการเขียนแผนการสอนก็มีความจำเป็นที่จะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานของหลักสูตร และสอดคล้องกับตัวชี้วัดด้วยซึ่งจะทำให้การสอนเป็นไปอย่างง่ายไม่ตะกุกตะกักและนักเรียนก็สามารถเชื่อมโยงความรู้แล้ววิเคราะห์ความรู้ได้จนสรุปความรู้ได้
                คุณสมบัติของครูจะต้องมีลักษณะของความรับผิดชอบคิดและหาวิธีการสอนใหม่ที่จะมาสอนนักเรียน เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน  ซึ่งครูก็ต้องมีสมบัติในการวิเคราะห์ตัวของนักเรียนที่มีความแตกต่างกันในด้านความสามารถ  และครูจะต้องรู้จักการเตรียมตัวการสอนและจัดเรียงเนื้อหาให้เป็นลำดับและตรงกับมาตรฐานหลักสูตรและตัวชี้วัดซึ่งจะต้องมีการพัฒนาตามคุณลักษณะ และครูจะต้องรู้จักการหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ กล้าที่จะทดลองและพัฒนาการสอนอยู่เสมอ

ครูจะต้องมีคุณสมบัติ
1. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง ความประพฤติ ทั้งทางกายและวาจาและใจ ที่แสดงถึงความเคารพในกฎหมาย ระเบียบประเพณีของสังคม และความประพฤติที่สอดคล้องกับอุดมคติหรือความหวังของตนเอง โดยให้ยึดส่วนรวมสำคัญกว่าส่วนตัว
2. ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม หมายถึง การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เอาเปรียบ หรือคดโกงผู้อื่นหรือส่วนรวม ให้ยึดถือหลักเหตุผล ระเบียบแบบแผนและกฎหมายของสังคมเป็นเกณฑ์
3. ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม
4. ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ หมายถึง ความประพฤติที่ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมและไม่ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่สังคม
5. ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล หมายถึง ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การงาน
6. ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือ ในการอยู่ร่วมกันโดยยึดผลประโยชน์ของสังคมให้มากที่สุด
7. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หมายถึง ความมั่นคงและจิตใจ รู้จักบำรุงรักษากายและจิตใจให้สมบูรณ์ มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง
8. ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
9. ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมของตนเองและทรัพยากรของชาติ
10. ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคีกัน หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกถึงความแบ่งปัน เกื้อกูลผู้อื่น ในเรื่องของเวลากำลังกายและกำลังทรัพย์
การเป็นครูที่ "ดี" นั้น ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติต่าง
1. ปรับปรุงการเรียนการสอนให้ทันสมัยและเหมาะสมอยู่เสมอ
2. มีความปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จในทุกด้าน
3. มีบุคลิกภาพที่ดี
4. มีความรู้ความชำนาญในงานที่สอน
5. มีความอดทน
6. มีลักษณะซึ่งผู้เรียนให้ความไว้วางใจ
7. มีความกระตือรือร้นในการถ่ายทอดความรู้
8. มีความจริงใจ
9. มีลักษณะเป็นผู้นำ